|
VIEW : 1,284
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลเมื่ออายุ ๑๘ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเกลาสะ
อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเกลาสะ ได้รับฉายาว่า อุตตมรัมโภ แปลว่า ผู้มีความพากเพียรอันสูงสุด โดยได้ตั้งเจตจำนงที่จะบวชไม่สึกจนตลอดชีวิต
หลังจากบรรพชาเป็นสามเณร ได้ศึกษาภาษาบาลี และพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นโท
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก จากสำนักเรียนวัดปราสาททอง อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๔ สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ในประเทศพม่า ที่สำนักเรียนวัดสุขการี อำเภอสะเทิม จังหวัดสะเทิม อุตตมรัมโภภิกขุจึงได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานที่วัดตองจอย และวัดป่าเลไลยก์ จนมีความรู้ความสามารถในเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนวิชาไสยศาสตร์และพุทธาคมเป็นอย่างดี และชอบออกเดินธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ในประเทศพม่า
อุตตมรัมโภภิกขุเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกทางจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ โดยเดินธุดงค์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสวนดอก ก่อนจะออกธุดงค์ไป แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงราย น่าน กาญจนบุรี
เนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองในประเทศพม่าขณะนั้น อุตตมรัมโภภิกขุจึงเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งทางหมู่บ้านอีต่อง ตำบลปิล็อก อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีคนมาแจ้งข่าวว่าที่สังขละบุรีมีชาวมอญจากบ้านเดิมของท่าน อพยพเข้าเมืองไทย และต้องการนิมนต์ท่านไปเยี่ยม ท่านได้พบกับชาวมอญที่อพยพมาจากโมกกะเนียง เจ้าคะเล และมะละแหม่ง และพาชาวมอญเหล่านี้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านวังกะล่าง ถือเป็นจุดกำเนิดของชุมชนชาวมอญในสังขละบุรี
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หลวงพ่ออุตตมะร่วมกับชาวบ้านชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้พร้อมใจกันสร้างศาลาวัดขึ้น มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่าสามประสบ เพราะมีแม่น้ำ ๓ สายไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาให้ใช้ชื่อว่า วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอวังกะ ในวัดมีการก่อสร้างเจดีย์จำลองแบบจากวัดมหาโพธิ เมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๑๘ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙
ต่อมาทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ก่อสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ น้ำในเขื่อนเขาแหลมจะท่วมตัวอำเภอเก่ารวมทั้งหมู่บ้านชาวมอญ ทางวัดจึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน โดยทางราชการได้ช่วยเหลือในการอพยพผู้คนซึ่งมีอยู่ราว ๑,๐๐๐ หลังคาเรือน บนพื้นที่ ๑,๐๐๐ ไร่เศษ ส่วนบริเวณวัดหลวงพ่ออุตตมะเดิม ปัจจุบันจมอยู่ใต้น้ำ และมีชื่อเสียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว Unseen Thailand เป็นที่รู้จักในชื่อว่า วัดใต้น้ำ สังขละบุรี
พ.ศ. ๒๕๐๔ | เป็น เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม (เดิม) |
พ.ศ. ๒๕๐๕ | เป็น เจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณาราม |
พ.ศ. ๒๕๐๙ | เป็น พระกรรมวาจาจารย์ |
พ.ศ. ๒๕๑๑ | เป็น พระอุปัชฌาย์ |
พ.ศ. ๒๕๑๒ | เป็น เจ้าคณะตำบล |
พ.ศ. ๒๕๑๓ | เป็น เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม |
พ.ศ. ๒๕๒๕ | เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอสังขละบุรี |
พ.ศ. ๒๕๒๖ | เป็น เจ้าคณะอำเภอสังขละบุรี |
หลวงพ่ออุตตมะ เข้ารับรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ด้วยโรคไต โรคหัวใจ โรคปอด สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ท่านไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถลืมตาเองได้เป็นเวลากว่า ๑ ปี จนกระทั่งเกิดอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง และมรณภาพจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากภาวะปอดอักเสบ เมื่อเวลา ๗.๒๒ น. ของวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อายุรวม ๙๗ ปี
พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็น
พระครูสังฆรักษ์
ฐานานุกรมใน พระราชวิสุทธิเวที (บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ. ๙) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็น
พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ที่ พระครูอุดมสิทธาจารย์
|
พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็น
พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ในราชทินนามเดิม
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ที่ พระอุดมสังวรเถร
[1]
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็น
พระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ที่ พระราชอุดมมงคล พหลนราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[2]
|
1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๘, ตอนที่ ๒๐๖ ง , ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔, หน้า ๔ |
2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๘, ตอนที่ ๒๑๓ ง, ๖ ธันวาคม ๒๕๓๔, หน้า ๔ |
wikipedia |
พระราชาคณะชาวต่างประเทศ |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook