|
VIEW : 10,578
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลเมื่ออายุได้ ๖ ขวบเข้าเรียนชั้นอนุบาลในโรงเรียนอนุบาลครูเฉลียวที่ตลาดศรีประจันต์ จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ จากนั้นบิดาได้พาเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนปทุมคงคา โดยพักอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ เด็กชายประยุทธ์เป็นเด็กเรียนเก่ง จึงได้รับทุนเรียนดีจากกระทรวงศึกษาธิการจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น และมีความใส่ใจในการเรียนมาก ช่วงเวลาปิดเทอมกลับมาอยู่ที่บ้าน ก็สามารถสอนภาษาอังกฤษแก่น้อง ๆ ได้
เนื่องจากเป็นเด็กสุขภาพไม่ใคร่ดีตั้งแต่เล็กจนโต จากคำบอกเล่าของญาติพี่น้องและคนใกล้ชิดกล่าวว่า วัยเยาว์ของท่านจะควบคู่ไปกับการเจ็บป่วยเรื่อยมา เป็นเกือบทุกโรค เป็นต้นว่า หัวใจรั่ว ท้องเสีย ท้องอืด ต้องผ่าตัดถึงสองครั้ง หูเป็นน้ำหนวกอักเสบเข้าไปในกระดูกพรุนถึงโพรงศีรษะ แพ้อากาศ โรคปอด นิ่วในไต หลอดลมอักเสบ กล้ามเนื้อแขนอักเสบ ไวรัสเข้าตา สายเสียงอักเสบ เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองข้างซ้ายเล็กลีบ เป็นต้น จากสุขภาพที่ไม่แข็งแรงเช่นนี้ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนตามปกติ หลังจากจบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทางบ้านจึงสนับสนุนให้ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านกร่าง ตำบลศรีประจันต์ ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้าน เพราะเล็งเห็นว่าการอยู่ในเพศบรรพชิตจะเอื้ออำนวยต่อการศึกษาได้มากกว่า เพราะไม่ต้องยุ่งยากเดินทางไปโรงเรียน และยังสามารถศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดได้ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้เริ่มเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรม จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ มาจำพรรษาที่ วัดพระพิเรนทร์ สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับเป็นนาคหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้นามฉายาว่า "ปยุตฺโต" แปลว่า "ผู้เพียรประกอบแล้ว" โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาจนกระทั่งได้รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ ๑ จาก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
นักธรรมชั้นเอก |
เปรียญธรรม ๙ ประโยค |
ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง |
พ.ศ. ๒๕๒๕ | ได้รับถวายพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๕๒๙ | ได้รับถวายศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
พ.ศ. ๒๕๒๙ | ได้รับถวายศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาหลักสูตรและการสอน) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร |
พ.ศ. ๒๕๓๐ | ได้รับถวายศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์-การสอน) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
พ.ศ. ๒๕๓๑ | ได้รับถวายอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๕๓๑ | ได้รับถวายศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาภาษาศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหิดล |
พ.ศ. ๒๕๓๓ | ได้รับถวายการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
พ.ศ. ๒๕๓๖ | ได้รับถวายปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง |
พ.ศ. ๒๕๓๗ | ได้รับถวายศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
พ.ศ. ๒๕๓๘ | ได้รับถวายตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากนวนาลันทามหาวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย |
พ.ศ. ๒๕๓๘ | ได้รับถวายอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จริยศาสตร์ศึกษา) จากมหาวิทยาลัยมหิดล |
พ.ศ. ๒๕๔๑ | ได้รับถวายวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
พ.ศ. ๒๕๔๔ | ได้รับถวายศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๕๔๔ | ได้รับถวายศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาวิชาการบริหารองค์กร จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม |
๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ | ได้รับถวายครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา จากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา |
พ.ศ. ๒๕๕๒ | ได้รับถวายปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา จากมหาวิทยาลัยบูรพา |
พ.ศ. ๒๕๕๒ | ได้รับถวายปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร |
พ.ศ. ๒๕๕๒ | ได้รับถวายนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
พ.ศ. ๒๕๕๓ | ได้รับถวายปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนาทรัพยากรมนุษย์) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
พ.ศ. ๒๕๕๔ | ได้รับถวายศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ |
พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๙ | เป็น เจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ |
พ.ศ. ๒๕๓๗ | เป็น เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน |
พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๒ | เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม (โดยตำแหน่ง) |
พ.ศ. ๒๕๖๒ | เป็น ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม [1] |
พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็น
เปรียญธรรม ๙ ประโยค
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ
ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี
[2]
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็น
พระราชาคณะชั้นราช
ที่ พระราชวรมุนี ศรีปริยัติบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[3]
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็น
พระราชาคณะชั้นเทพ
ที่ พระเทพเวที ศรีวิสาลปาพจนรจิต ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[4]
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็น
พระราชาคณะชั้นธรรม
ที่ พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายก ปาพจนดิลกนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[5]
|
๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็น
พระราชาคณะเจ้าคณะรอง
มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็น
สมเด็จพระราชาคณะ
ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลกวรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฎ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี
[6]
|
1. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษามหาเถรสมาคม |
2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๖, ตอนที่ ๑๑๘ ง, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒, หน้า ๓ |
3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๐, ตอนที่ ๑๗๗ ง, ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๖, หน้า ๖ |
4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๔, ตอนที่ ๒๕๓ ง, ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐, หน้า ๔ |
5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๐, ตอนที่ ๒๐๒ ง, ๖ ธันวาคม ๒๕๓๖, หน้า ๑ |
6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๓, ตอนที่ ๔๒ ข, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๙, หน้า ๑ |
wikipedia |
วัดญาณเวศกวัน ประวัติ - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook