|
VIEW : 1,027
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่วัดนาบุญ ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ณ วัดนาบุญ ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยมี พระภัทรธรรมธาดา วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการหีด ธัมมธโร วัดนาบุญ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่า สุมโน แปลว่า พระผู้มีใจดี
ประถมศึกษาปีที่ ๓ จาก โรงเรียนวัดชลธารวดี อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร |
นักธรรมชั้นเอก |
เปรียญธรรม ๓ ประโยค |
พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๒๓ | เป็น เจ้าอาวาสวัดเสกขาราม |
พ.ศ. ๒๕๓๒ | เป็น เจ้าอาวาสวัดโตนด |
พ.ศ. ๒๕๔๖ | เป็น ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอหลังสวน (ธ) [1] |
เจ้าคณะอำเภอหลังสวน (ธ) |
หลักจาก อุปสมบทแล้ว ก็ได้เดินทางขึ้นกรุงเทพมหานคร หลังจากอุปสมบทได้ ๑ อาทิตย์เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพมหานคร ได้ได้พักที่วัดแห่งนี้ กับพระมหามานิต ถาวโร ปัจจุบันคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปปัจจุบัน และได้ศึกษาอยู่ร่วมชั้นเรียนเดียวกันสมัยเรียนบาลี กับ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก จนมีความใกล้ชิด สนิท เป็นพระสหายในที่สุด
การเล่าเรียนนั้น ยากมากสำหรับเรา เรียนมหาเปรียญ เรียนถึง ๘ ปี จนจบเปรียญ ๓ ประโยค ด้วยความยากลำบากในการเรียน และด้วยอาศัย นิสัยสัญญาเดิม จิตก็คิดแต่การหลุดพ้นจากกองทุกข์ จึงได้เดินทางออกจากกรุงเทพมหานคร เดินทางไปทิศตะวันออกของประเทศสู่จังหวัดชลบุรี เดินลัดตามป่าเขา ค่ำไหน ปักกลด ภาวนานั่น ตอนแรกจิตก็คิดว่า มาทำไม มาแล้วลำบากมาก คิดเดินกลับ แต่ใจเป็นตัวรู้ จิตตื่น เมื่อก่อนพ่อแม่เราก็ทำนา เราเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย มาอยู่แบบนี้ไม่ได้ก็อาย ควายสิ พระพุทธเจ้าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ไม่เคยลำบาก เหมือนเรา ท่านยังทำได้ เราทำไม่จะทำไม่ได้ จิตก็คิดอยู่ในใจเสมอ
วันแรกที่อยู่กลางป่าเขา เงียบมาก มืดมาก ขณะนั่นอาตมายังไม่เข้าใจเรื่องภาวนาเลยด้วยซ้ำ นั่งก็กลัวไปหมด กลัวเสือ กลัวผี และกลัวงู สุดท้ายความกลัวก็ปรากฏ เมื่อนั่งภาวนา ดูลมหายใจ เข้าออก ภาวนา พุทโธ นั้น ได้ยินเสียง มีอะไรลากใบไม้ เป็นทางยาว เราขณะนั่นใจไม่ดีแล้ว กลัวว่าอะไร เสียงนั่นเริ่มชัดขึ้น ใกล้เข้ามาหาเรามากขึ้น ขณะนั้น อาตมาก็เริ่มตั้งสติ ตายเป็นตาย อะไรก็ช่าง สุดท้าย จิตนิ่งมาก สงบมาก สงบจริงๆ ไม่มีอะไรฟุ่งเลยในจิต นั่งภาวนา คืนแรก เป็นแบบนี้ จิตก็บอกว่า ต้องเอาอีก แบบนี้ อารมณ์แบบนี้ คืออะไร เมื่อสว่างก็เริ่มออกบิณฑบาต ไม่ได้อะไรเลย เดินวนอยู่ในไป ออกไม่ถูก จิตก็กลัวอีก คือ กลัวตาย ข้าวก็ไม่ได้ จะทำอย่างไร มีแต่เดินกลับไปที่เดิม ๓ วันแรกไม่ได้ฉันอะไรเลย หาทางออกจากป่าไม่ถูก ว่าหมู่บ้านอยู่ตรงไหน จากนั่น ก็อาตมาก็ได้ แหงนมองท้องฟ้า ดูว่าดวงอาทิตย์ ขึ้นฝั่งไหน ก็มุ่งหน้าไปทางดวงอาทิตย์ขึ้น เรื่อยๆ ตอนนั่นอาตมายังเชื่อเรื่องดวง โชค อยู่ บอกว่าไปทางดวงอาทิตย์ขึ้น เผื่ออะไรจะดีขึ้น
สุดท้ายดีขึ้นจริงๆ เห็นหมู่บ้าน เล็กๆ อยู่ไม่ไกล เลยปักกลดอยู่หากจากหมู่บ้านไม่เกิน ๑ กิโล เพื่อง่ายต่อการบิณฑบาต รุ่งเช้าเมื่อบิณฑบาตเสร็จ ก็กลับมาฉัน ได้ข้าวกับไข่ต้ม และยอดผักสด มาฉัน อาตมาภาพก็ปักกลดอยู่ในถ้ำใกล้หมู่บ้านนั้น ๒ เดือน ต่อมาก็เดินเที่ยวอยู่ตามป่าเขา เพราะไม่กลัวอะไรแล้ว ไม่คุยกับใคร อยู่คนเดียว อยู่กับจิตกับใจ เมื่อถึงเวลาอันสมควรแล้ว ก็เดินทางแสวงหาครูอาอาจารย์ต่อ เพราะเท่าที่รู้ต้องมีครู ได้เดินเท้าไปเรื่อยๆ จนไปพบสหธรรมิก ๑ รูป คือ พระชาติ ไม่ทราบฉายา ท่านเป็นชาวจันทบุรี เมื่อพบเจอแล้วก็ได้สนทนาธรรมกัน จนมีความปีติใจทั้งสอง จึงได้ชักชวนกันไปภาคอีสาน เพราะกิตติศัพท์ ของพระอาจารย์มั่น นั่น ได้โด่งดังในหมู่สงฆ์ มาก จิตอยู่กับท่านว่า หน้าตาอย่างไร ทำไม่ถึงดังขนาดนี้ ใจอยากรู้มาก จึงได้เดินทางขึ้นภาคอีสาน แต่ไม่รู้ว่าท่านอยู่จังหวัดใด ระหว่างเดินทางได้พบเสือบ้าง ช้างป่า หมีป่า และที่สำคัญ งูจงอางขนาดเท่าคน ขดอยู่ในถ้ำ ตอนแรกตั้งใจว่า จะไปพักกันในถ้ำ แต่ก็ไม่สามารถไปพักในถ้ำได้ เพราะงูจงอาง ใหญ่จริงๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนอยู่ในถ้ำนั่น เราเลย ปักกลดอยู่หน้าถ้ำนั่น ประมาณตี ๓ งูจงอางนั่น ส่งเสียงขู่ คล้ายกับเห็นเราเดินจงกรมอยู่ปากถ้ำนั่น ใจก็แผ่เมตตาไปอย่างไม่มีประมาณ สุดท้ายเสียงเงียบ แต่เขาเลื้อยผ่านไปอย่างช้าๆ เรื่อยๆ ความยาวประมาณ ๓๐ เมตร เห็นจะได้
เมื่อพบเห็นท่านแล้ว ใจอิ่ม ใจพองโต น้ำตาไหล หลวงปู่ก้มกราบท่านด้วยความเคารพยิ่ง ขณะที่กราบ จิตก็คิดไปว่า ทำไมท่านผิวกายผ่องใส เช่นนี้ ขนาดท่านมีอายุแล้ว เสียงพระอาจารย์มั่น ก็ตอบอย่าง เมตตาขึ้นว่า เมื่อจิตผ่องใส กายสังขาร ก็จะผ่องใสไปด้วย ทุกอย่างไปด้วยจิต ขณะนั้นจิต ก็สว่างจ้าไปหมด อาตมาภาพไม่ได้คิดอะไรเลยเรื่องโลกๆ จิตหวังถึงพระนิพพานอย่างเต็มกำลัง
หลังจากนั้น หลวงปู่ก็ได้รับเมตตาจากพระอาจารย์มั่น ให้บีบ คลายเส้นถวายด้วย และได้พักภาวนากับพระอาจารย์มั่น๑พรรษา ณ บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อภาวนาได้ดีแล้ว หลวงปู่จึงได้กราบลาท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อเดินทางไปแสวงหาสถานที่ภาวนา ที่อื่นต่อไป เพราะขณะนั่น พระเณร ญาติโยม มามาก จนพระเก่าๆที่มีกำลังจิตพอแล้วก็ออกไปเพื่อภาวนา เพื่อให้พระที่มาใหม่ได้มีโอกาสพักเพื่อศึกษาธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่น ด้วย
ระหว่างเดินทางออกจากสกลนคร ก็แวะจังหวัดนั่นจังหวัดนี้ ทางภาคอีสาน หลวงปู่ได้เดินย้อนกลับมาทางจันทบุรีอีกครั้ง จนถึงจังหวัดตราด และได้ไปปักกลดภาวนา ณ ถ้ำเขาสมิง หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ถ้ำเขาสมิงนี้มีลักษณะเป็นเขาเตี้ย ๆ อยู่ลูกหนึ่ง อยู่ห่างจากที่ตั้ง อำเภอเขาสมิงปัจจุบันนี้ประมาณ ๓ กิโลเมตร บรรยากาศเหมาะอย่างยิ่งแก่การภาวนา หลวงปู่จึงได้ เลือกสถานที่นี้ภาวนา จนในวันที่ ๗ ของการพักภาวนา อยู่ที่นี่ หลวงปู่ ได้พบความอัศจรรย์ แห่งจิต ขณะภาวนา ว่า ได้เห็นพระอรหันต์ เป็แสนๆล้านรูป นั่งอยู่ตรงหน้า แต่ทำไม่เราถึงไปนั่งตรงนั้นไม่ได้ จิตก็เริ่มพิจารณาธรรมะของสัตบุรุษ ว่า เป็นเช่นไรหนอ เราไม่ได้ละเลยการปฎิบัติ ทรงในศีลสังวร เสมอ จนจิตพิจารณาย้อนไปยังบุปเพชาติ จึงเห็นว่า ได้ปรารถนาพระปัจเจกพุทธเจ้าไว้ หลังจากนั่น ท่านจึงได้ตั้งจิต รวมเป็นกำลังเดียว น้อมจิตสักการะธรรม ขอถอนจากการปรารถนาพระปัจจเกพุทธเจ้าเถิด บัดนั่น ท่านเล่าว่า เสียงที่เกิดขึ้นในจิต ดังสนั่น เหมือนฟ้าผ่ามากลางกาย แผ่นดินเหมือนโลกนี้จะพังให้ได้ กายหายไปเหลือแต่จิต ที่สว่างจ้า เหมือนแสงอาทิตย์ นับประมาณมิได้ ใจผ่องใส หาอะไรเปรียบเสมอเหมือนไม่ได้แล้ว พระนิพพาน เป็นบรมสุข อันเกษมอย่างนี้หรือ
จนปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ถึง ๒๕๐๒ ท่านดำริกับหลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานครว่า ท่านวิริยังค์ อาตมาภาพสร้างในใจสมบูรณ์แล้ว พร้อมที่สร้างภายนอกแล้ว หลังจากนั้นหลวงปู่จึงได้ชักชวน หลวงปู่วิริยังค์ สมัยนั้น มาร่วมสร้างโบสถ์กับท่าน ณ วัดสารนารถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัด ระยอง และเสนาสนะอื่นๆอีกหลายอย่าง และได้อาราธนานิมนต์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งหลวงปู่ให้ความเคารพว่าเป็นพระอาจารย์ของท่าน และสหธรรมิก อีกอาทิเช่น
มาร่วมสวดฉลองอุโบสถ หลังจากสร้างเสนาสนะ ระหว่างนั้น ท่านได้ชักชวนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี และหมู่คณะว่า อาตมาภาพ ได้รู้แล้ว เห็น ขอความเมตตาครูอาจารย์ ได้โปรดลงภาคใต้ เพื่อโปรดชาวภาคใต้ ให้รู้ธรรมะของสัตบุรุษ ด้วยเถิดอาตมาภาพขอเป็นผู้นำทางกองทัพธรรมสายพระอาจารย์มั่น ลงภาคใต้เอง เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์แล้ว ท่านอาศัย ช่วงเช้ามืด ช่วงออกไปบิณฑบาต เพื่อหนี ออกจากวัดที่นั่น เพราะ มีชาวบ้านและคณะสงฆ์ต้องการให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส แต่ท่านไม่ต้องการ จึงได้หนีออกจากวัดสารนารถธรรมาราม เพื่อมุ่งหน้าสู่บ้านเกิด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เพื่อพักภาวนาและผักผ่อนก่อน โดย คณะกองทัพธรรมได้พักบนยอดเขา ณ วัดเสกขาราม อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และ เดินทางลงจังหวัด พังงา กระบี่ ภูเก็ต เพื่อตีทัพธรรม ตอนล่างของภาคใต้ก่อนและค่อยขยับขึ้นมาถึงชุมพร แต่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่ทางภาคใต้ ยังไม่เข้าใจกับการสร้างความมั่นคงภายใน ความมั่นคงของจิต ให้แข็งแรง ไม่หวั่นไหว ต่อสภาวะโลก ระหว่างลงภาคใต้นั่น ถึงแม้จะมีพระภาคใต้คือหลวงปู่ลงไปด้วย เพื่อสื่สาร ภาษาใต้กับคนใต้ ก็ยังโดนเอาก้อนหินปา ไล่ตี โดนขับไล่ ออกจากพื้นที่จังหวัดดังกล่าว จนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี บอกว่า เราต้องอดทน อดข้าว อดน้ำ กลางป่ามาแล้ว แค่นี้ เราต้องอดทนให้ได้ จนในที่สุด ความขันติ ความอดทนนี้ เอง จนทำให้กองทัพธรรมสายพระอจารย์มั่น ตีภาคใต้ได้สำเร็จ ต่อมา ท่านจึงได้กราบลาพระอาจารย์กลับจังหวัดชุมพร บ้านเกิดก่อน แต่เมื่อท่านเดินทางมาถึงก็ต้องมีเหตุให้มาเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดเสกขาราม อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อยู่ดี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ถึงปี ๒๕๒๓
ต่อมาท่านได้ลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาส ไปสร้างสำนักปฎิบัติธรรม สวนป่านาพญาธรรมาราม เพื่อให้เป็นสถานที่พักภาวนาของพระภิกษุและญาติโยม
พระครูมงคลคณานุรักษ์ (ผิน สุมโน) มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๑๖ นาที ณ โรงพยาบาลหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ด้วยสิริอายุ ๙๕ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน และได้ทำการถวายพระราชทานเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่มหาผิน สุมโน เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็น
พระครูสัญญาบัตร
ที่ พระครูมงคลคณานุรักษ์
|
1. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง เสนอขอแต่งตั้งพระสังฆาธิการเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอหลังสวน (ธรรมยุต) จังหวัดชุมพร |
luangpumahaphin.blogspot.com |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook