|
VIEW : 462
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลบรรพชาเป็นสามเณร โดยมี หลวงปู่เฒ่า เป็นพระอาจารย์บรรพชา ณ วัดหนองไทร
เมื่ออายุครบอุปสมบท ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๒๐ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุทกสีมาวัดหนองไทร บริเวณท่าน้ำหน้าวัดหนองไทร (โดยสมมติน้ำเป็นเขตสีมา) ไม่ทราบนามพระอุปัชฌาย์ คาดว่ามีหลวงปู่เฒ่า วัดหนองไทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า "รตโน" แปลว่า ความรื่นรมย์ในธรรม
**สันนิษฐานว่า มีเจ้าคณะเมือง หรือไม่ก็เจ้าคณะแขวงในสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์
ศึกษาวิชาการต่างๆ ทั้งมูลกัจจายน์ ตลอดทั้งวิทยาคมและไสยศาสตร์จากพระอาจารย์เฒ่า เจ้าอาวาสวัดหนองไทรองค์ก่อนจนแตกฉาน ภายหลังหลวงพ่อขำได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองไทร หลวงพ่อขำเป็นผู้ที่มีเมตตาธรรมสูงมาก ภายในวัดหนองไทรจะมีบรรดาสัตว์ต่างๆ มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สัตว์บางตัวก็มีชาวบ้านนำมาถวาย ท่านก็เลี้ยงดูด้วยความเมตตาสงสาร สัตว์เหล่านี้ล้วนแต่เชื่อง เลี้ยงโดยไม่มีการผูกล่ามหรือกักขัง หากินแต่ภายในบริเวณวัดและใกล้ๆ บางครั้งหากจะออกไปหากินไกลจากวัดบ้างก็จะกลับวัดเองโดยไม่มีใครทำร้าย หลวงพ่อขำ ท่านสรงน้ำเพียงปีละครั้งเดียว แต่แปลกที่ตัวท่านไม่มีกลิ่นสาบแต่อย่างใด ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติจนสำเร็จธรรมขั้นสูง เชื้อโรคจุลินทรีย์ไม่สามารถทำร้ายท่านได้ กลับกลายเป็นเกราะคุ้มป้องกันเป็นเหตุให้มรณภาพไปสังขารไม่เน่าเปื่อย (แต่สมัยนั้นไม่นิยมเก็บสรีระ เลยทำการฌาปนกิจ)
ปีหนึ่งฝนแล้งมากเป็นเวลานานหลายเดือน ชาวบ้านจึงนิมนต์หลวงพ่อขำสรงน้ำเพื่อถือเคล็ดขอฝน ท่านก็ออกมากลางแจ้งแล้วทำพิธีขอฝน วันนั้นตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ ขณะที่ชาวบ้านร่วมกันทำพิธีสรงน้ำหลวงพ่อขำ ท้องฟ้าก็เกิดมืดครึ้มแล้วก็มีฝนตกลงมาอย่างหนัก นับแต่นั้นมาพอวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี ชาวบ้านก็จะร่วมกันทำพิธีสรงน้ำหลวงพ่อขำทุกปี แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว ที่หน้าวัดหนองไทรมีแม่น้ำสายหนึ่งไหลผ่านชื่อ แม่น้ำพุมดวง ซึ่งมีจระเข้อยู่จำนวนมาก และจะคอยทำร้ายผู้คนและสัตว์ เล่าลือกันว่า หลวงพ่อขำจึงทำพิธีลงอาคมไว้ จระเข้เมื่อผ่านมาหน้าวัดหนองไทรก็จะลอยตัวขึ้นมาให้เห็นแต่ไกล ไม่อาจดำน้ำจมลงได้ หลวงพ่อขำมีคุณวิเศษทางด้านวาจาสิทธิ์เช่นกัน ท่านจึงระมัดระวังมากในการพูด เพราะกลัวว่าจะเผลอพลาดพลั้งปากไปด่าคนอื่นแล้วมีอันเป็นไป มีอีกวิชาหนึ่งที่หลวงพ่อขำศักดิ์สิทธิ์มาก คือ วิชาการสะเดาะ สมัยก่อนนั้นหากว่ามีใครกินอาหารแล้วมีก้างปลาหรือกระดูกติดคอ เมื่อเอามาให้หลวงพ่อขำทำน้ำมนต์ให้ดื่ม ก้างปลาหรือกระดูกที่ติดคอนั้นก็จะหลุดทันที แม้แต่วัตถุมงคลของท่านอย่างเช่น เหรียญ ตะกรุด หรือชานหมาก ก็สามารถเอามาแช่น้ำทำน้ำมนต์สะเดาะก้างปลาหรือกระดูกให้หลุดจากลำคอได้เช่นกัน หลวงพ่อขำเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชอบเดินธุดงค์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามป่าดง ยึดสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์ ทำให้มีสาธุชนให้ความเลื่อมใสศรัทธามาก
ท่านยังเด่น ด้านวาจาสิทธิ์เช่นกัน ท่านจึงระมัดระวังมากในการพูด เพราะกลัวว่าจะเผลอพลาดพลั้งปากไปด่าคนอื่น แล้วมีอันเป็นไป แม้จะระวังอย่างใดท่านก็เผลอจนได้ ครั้งหนึ่งมีคนเอา "เหล็กไฟตบ" ของท่านไป สำหรับเหล็กไฟตบก็คือเครื่องมือจุดไฟสมัยก่อนทำด้วยเขาควาย เมื่อรู้ว่ามีคนขโมยไปท่านก็เผลอปากพูดขึ้นว่า "ใครเอาเหล็กไฟตบไปให้เอามาคืน ถ้าไม่คืนมือมันจะด้วน" ปรากฏว่าคนที่เอาไปภายหลังถูกงูกะปะกัดมือ จนกลายเป็นแผลเน่าเปื่อย และสุดท้ายมือข้างนั้นก็ด้วน ตามปากหลวงพ่อขำว่าเอาไว้จริงๆ อีกวิชาหนึ่งที่เลื่องลือมากคือ "วิชาการสะเดาะ" สมัยก่อนนั้นหากว่ามีใครกินอาหารแล้วมีก้างปลาหรือกระดูกติดคอ เมื่อเอามาให้หลวงพ่อขำทำน้ำ มนต์ให้ดื่ม ก้างปลาหรือกระดูกที่ติดคอนั้นก็จะหลุดทันที แม้แต่วัตถุมงคลของท่านอย่างเช่น เหรียญ, ตะกรุด หรือแม้กระทั่งชานหมาก ก็เอามาแช่น้ำทำน้ำมนต์สะเดาะก้างปลาหรือกระดูกให้หลุดจากลำคอได้ เช่นกัน การรักษาโรคโดยวิชาแพทย์แผนโบราณของหลวงพ่อขำขึ้นชื่อมาก และรักษาคนหายกันมากมาย ก่อนที่ท่านจะมรณภาพประมาณ ๒ สัปดาห์ท่านเกิดอาพาธ ท่านกลับไม่ยอมประกอบยาตามวิชาการแพทย์แผนโบราณของท่านเองขึ้นรักษา แม้ชาวบ้านจะนำแพทย์มารักษาท่านก็ไม่รับ เอายาจากที่อื่นมาให้ท่านก็ไม่ฉัน ท่านบอกว่า "จะหมดอายุขัยแล้ว ถึงจะรักษาอย่างไรก็อยู่ไม่ได้" ท่านจึงได้แต่นอนภาวนา หลวงพ่อขำ สุดท้ายก็มรณภาพไปโดยอาการสงบ
เจ้าอาวาสวัดหนองไทร |
พระอธิการขำ รตโน มรณภาพด้วยความชราโดยอาการสงบ ณ กุฏิของท่านวัดหนองไทร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ สิริอายุ ๘๕ ปี พรรษา ๖๕ ทำการฌาปณกิจก่อนเข้าพรรษา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เกียรติคุณความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อขำยังเป็นที่กล่าวขวัญสืบมาจนถึงบัดนี้
|
หนังสือทำเนียบคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๓ (พ.ศ.๒๔๔๗) ฉบับกระทรวงธรรมบท โดยเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ค้นคว้าจาก หอสมุดแห่งชาติ กทม. |
ข้อมูลประวัติจากสื่อออนไลน์ และจากหนังสือนิตยสารพระเครื่อง ซึ่งเป็นข้อมูลเดิมที่คาดเคลื่อน ในส่วนของ ปี พ.ศ. ชาตะ และ มรณะ และได้นำมาเรียบเรียงใหม่. |
เรื่องเล่าจากการสอบถาม พระครูอนุภาสวุฒิคุณ (กระจ่าง อนุภาโส) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเคียนซา อดีตเจ้าอาวาสวัดน้ำรอบ / วัดเกาะกลาง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี. |
เรื่องเล่าจากการสอบถาม พระครูสารโสตถิคุณ (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร) หรือ พระอาจารย์เผือด รองเจ้าคณะอำเภอพุนพิน เจ้าอาวาสวัดทุ่งเซียด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี. |
เรื่องเล่าจาก คุณปัญญา อุ่นเรือน (พี่แหลม) ซึ่งได้ข้อมูลมาจาก พระครูสถิตวัฒนคุณ (พ่อท่านสงวน) อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี. |
เกรียงศักดิ์ เมฆสุข : เรียบเรียงเผยแพร่ |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook