|
VIEW : 741
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลได้รับการศึกษาในสมัยเด็กจากวัดตามสมัยนั้น มีความรู้ในการอ่านและเขียนทั้งอักษรไทยและขอม พอสมควรแก่วัยและสมัยนิยมเป็นอย่างดี
ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดจันทร์ โดยมี พระทุ่ม รองเจ้าอาวาส ผู้เป็นอาจารย์ของท่าน เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านได้ศึกษา และปฎิบัติกิจในภาวะของสามเณรอยู่ ๒ พรรษา จึงได้ลาสิกขาออกมาช่วยบิดามารดา ประกอบอาชีพตามพื้นเพเดิม คือ การทำนา อยู่ระยะหนึ่งแล้วย้ายไปอยู่กับนายวั่นเส้ง นางพิมพ์ฯ ญาติผู้ใหญ่ที่สนิทและรักใคร่ท่านมาก ที่บ่านท่าหิน ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ
อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พศ.๒๔๓๙ (อายุ ๒๒ ปี) ณ วัดท่าหิน โดยมี พระครูวิจารณ์ศีลาคุณ (ชู) วัดดอนคัน เจ้าคณะแขวงจะทิ้งพระ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการยิ้ม วัดท่าหิน เป็นอนุสาวนาจารย์ พระพริก วัดดอนคัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
จำพรรษาอยู่ที่วัดท่าหิน ๒ พรรษา ได้เรียนสวดมนต์แบละพระปาฏิโมกข์ จำได้คล่องแคล่วแล้ว จึงย้ายไปอยู่ในสำนักวัดดอนแย้ ศึกษาบาลีไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์) อย่างสมัยเก่าอีก ๑๑ พรรษา แต่ตามหัวเมืองครูอาจารย์สอนไม่ได้ ท่านจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานคร สำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม อีก ๘ พรรษา (พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๕๘) จึงสมารถแปลธรรมบทได้ชำนาญ เรียนมงคลทีปนีจนแตกฉานในพระธรรมวินัย สามารถเทศนาปฎิภาณโวหารได้ดียิ่งรูปหนึ่ง แต่ท่านไม่ด้สมัครเข้าสอบไล่สนามหลวง (ซึ่งสมัยนั้นใช้แปลปากเปล่ากัน) เพราะเห็นว่าถ้าสอบได้เป็นมหาเปรียญแล้ว มักต้องอยู่ช่วยการพระศาสนาประจำกรุงเทพฯ ซึ่งท่านมีได้ตั้งใจแน่วแนวที่จะกลับไปพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอน
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้เดินทางกลับมาประจำอยู่วัดบ่อประดู่ ท่านก็ได้ริเริ่มปรับปรุงก่อสร้างวัด ซึ่งอยู่ในสภาพเกือบจะร้างแล้วนั้น ให้กลับดีขึ้นเริ่มด้วยการสร้างเสนาสนะที่อยู่อาศัยของภิกษุสามเณรชนิดถาวร เล็กบ้างใหญ่บ้างตามความจำเป็นและกำลังศรัทธาของชาวบ้าน เมื่อมีที่อยู่อาศัยแล้ว ท่านจึงได้สถานที่และจัดตัวดรงเรียนขึ้นเพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาเล่าเรียนดดยท่านเองเป็นครูสอนเองบ้าง พอรัฐบาลออกกฎหมายประถมศึกษา และขยายการบังคับออกต่างจังหวัด ถึงตำบลวัดจันทร์แล้ว ท่านก็มอบโรงเรียนและกิจการการสอนของท่าน ให้แก่ทางราชการทำต่อไป
ส่วนท่านเองหันไปอบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยพระภิกษุสามเณร แล้วจัดสร้างศาลาการเปรียญและสอนปริยัติธรรมสนามหลวงแผนกนักธรรมขึ้นในวัด
เมื่อเห็นชาวบ้านมีกำลัง ท่านจึงได้สร้างอุโบสถให้เป็นหลักของวัดของศาสนา เพื่อสมณกิจโดยเฉพราะขึ้นใหม่อย่างดีและสวยงามทันสมัย
พ.ศ. ๒๔๖๐ | เป็น เจ้าอาวาสวัดบ่อประดู่ |
พ.ศ. ๒๔๗๐ | เป็น พระอุปัชฌาย์ |
พ.ศ. ๒๔๗๐ | เป็น เจ้าคณะหมวดเสื้อเมือง (เจ้าคณะตำบลเสื้อเมือง) |
พ.ศ. ๒๔๗๔ | เป็น เจ้าคณะหมวดวัดจันทร์ (เจ้าคณะตำบลวัดจันทร์) |
พ.ศ. ๒๔๗๔ | เป็น กรรมการศึกษาประจำอำเภอเมืองสงขลา |
๑. เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาโดยตลอด และแนะนำให้คนอื่นใคร่ต่อการศึกษา ท่านแนะนำว่าชั้นปุถุชนควรใคร่ต่อการศึกษาเท่านั้น จะนำความเจริญให้นานัปการ
๒. เป็นผู้รู้จักประมาณตน เป็นผู้หนักแน่นในปฎิสันธาน ผู้ใดไปมาหาสู่ได้รับการต้อนรับเป็นอันดี เป็นทิ่ยินดีแก่ผู้ไปมาหาสู่ยิ่งนัก
๓. เป็นผู้ยินดีในการทำประโยชน์ ส่วนร่วมไม่ท้อถอย ทั้งประโยชน์ทางศาสนาและบ้านเมือง ๔.เป็นู้ดำรงอยู่ในพรหมวินัยโดยเคร่งครัด ตั้งใจ แนพนำสั่งสอนศิษยานุศิษย์ และทางบริษัทให้เข้าใจหลักธรรมและการครองชีพ โดยสมควรแก่ฐานะ
๕. ได้ขวนขวายเพื่อความเจริญของกุลบุตรทั้งทางโลกและทางธรรม อาทิเช่น ได้แนะนำและจัดภิกษุสามเณร ที่มีสติปัยญาดี สามารถเรียนปริยัติธรรมทั้งนักธรรมและบาลี ได้ศึกษาต่อในอำเภอเมืองและที่อื่นๆ หลายรูป นำมาซึ่งชื่อเสียงและเป็นกำลังหลักของการเผยแพร่พระพุทธศาสนา อาทิเช่น พระศรีปริยัตโยดม (จันทร์ เขมจารี ป.ธ.๙) อดีตเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนอกจากนั้นยังฆราวาสอีกมากม้ายที่สำเร็จและรับราชการที่สำคัญในบ้านเมือง
พระครูพิพัฒน์ภาวนา นั้นเป็นผู้ที่วิสัยทัศน์ทางการศึกษา ทำให้มีลูกศิษย์ จำนวนมาก ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นเพศบรรพชิตหรือฆราวาส อาทิเช่น พระศรีปริยัตโยดม (จันทร์ เขมจารี ป.ธ.๙) อดีตเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี / พระครูอัมภวันคณารักษ์ เจ้าคณะตำบลมะม่วงงาม / นายชวน จุลมณีโชติ ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา นายทิพย์ เทพรัตน์ ครูใหญ่โรงเรียนวัดบ่อประดู่
พระครูพิพัฒน์ภาวนา (เส้ง ติสฺสโร) มรณภาพ ด้วยโรคชรา ณ วัดบ่อประดู่ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เวลา ๐๗.๔๕ น. สิริอายุ ๘๘ ปี พรรษา ๖๖
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็น
พระครูสัญญาบัตร
ที่ พระครูพิพัฒน์ภาวนา
|
หนังสือพุทธบริษัทกับทรัพย์สมบัติ ของท่านพุทธทาส ภิกขุ พิมพ์ เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูพิพัฒน์ภาวนา (เส้ง ติสฺสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ่อประดู่/อดีตเจ้าคณะหมวดวัดจันทร์ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๗. |
เกรียงศักดิ์ เมฆสุข : ค้นคว้า/ เรียบเรียง |
เมธาสิทธิ์ เพชรจำรัส : ค้นคว้า/ เรียบเรียง |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook