|
VIEW : 2,158
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลอายุได้ ๘ ขวบได้เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหนองโขลง จนจบชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๔ (สมัยนั้นมีถึงแค่ประถม ๔)
อายุได้ ๑๒ ขวบได้บวช เป็นสามเณรเรียนหนังสือ ๕ ปี ในสํานักเรียนวัดกลางท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี จนสอบได้นักธรรมชั้นโทและได้เข้า มาศึกษาต่อนักธรรมชั้นเอกในสํานักเรียนวัดพระมหาธาตุ กทม
อายุ ๒๐ ปี บวชพระ ๑ พรรษาต่อมาก็มีเหตุให้ได้ลาสิกขาออกมาช่วยงาน ของทางครอบครัว ครั้นเมื่อช่วยงานของครอบครัวจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ได้แต่งงานมีครอบครัวของตนเองกับนางยุพิน อินทร์อารี (ปัจจุบันบวชเป็นแม่ชี) และสร้างฐานะครอบครัวจนมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง ท่านมีบุตร ธิดาทั้งหมด ๕ คน
อายุได้ ๔๕ ปี ท่านได้มีโอกาสพบพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายวัดป่ากรรมฐาน จึงได้เริ่มปฏิบัติธรรม ทางด้านจิตตภาวนาและเริ่มได้รับผลจากการปฏิบัติมา เรื่อยมา จึงเกิดความเลื่อมใสและศรัทธาใน พระพุทธศาสนา เป็นอย่างมากและปฏิบัติธรรมด้านจิตตภาวนามาอย่างต่อเนื่อง ๑๓ ปี
เมื่ออายุได้ ๕๘ ปี ได้ตัดสินใจเข้าอุปสมบท ณ อุโบสถวัดป่าสุขเกษมนิราศภัย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยมี พระครูวชิรคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
พรรษาที่ ๑-๒ จําพรรษาที่วัดป่าสุขเกษมนิราศภัย โดยมีหลวงปู่ สนั่น รักขิตสีโล เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ให้การอบรมแนะนําในการปฏิบัติธรรม จนท่าน ได้รับผลจากการปฏิบัติอย่างอัศจรรย์
พรรษาที่ ๓-๔ ได้มาจําพรรษาที่วัดป่าหลวงตามหาบัวธรรมเจดีย์ (วัดป่าภูหินร้อยก้อน) ซึ่งเป็นวัดสาขาของวัดป่าบ้านตาด ในองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยมีพระอาจารย์สุนทร ฐิติโก เป็นเจ้าอาวาส และเป็นครู อาจารย์ ออกพรรษาที่ ๔ แล้วท่านได้จาริกมาทางภาคใต้และได้มาพัก ณ โรงเรียนบ้านเคียนพิง (ซึ่งร้างแล้ว)หลังจากที่พิจารณาแล้วว่าที่นี่ไม่เคยมีวัดมาก่อน จึง ตัดสินใจสร้างวัดขึ้น ณ สถานที่แห่งนี้ในปี ๒๕๔๔ นับจากนั้นท่านได้ทําการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆมากมาย อีกทั้งทําการเผยแผ่ธรรมะชองพระพุทธเจ้า ตามแนวทางหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานไทย ให้แก่บรรดา ผู้ที่สนใจด้านจิตตภาวนาจนมีผู้ได้ผลจากการปฏิบัติเป็นจํานวนมาก
เมื่อครั้งที่ท่านเดินทางมาจาริกทางภาคใต้ไม่มีใครคาดคิดว่านี้คือจุดเริ่มต้นของ “วัดป่าเคียนพิง” นับย้อนหลังไปเมื่อ ๑๐ กว่าปี ที่ผ่านมา (๒๕๔๔-๒๕๕๘) ที่นี่เต็มไปด้วยป่าหญ้าคารกชัฏ เป็นเส้นทางที่พระสงฆ์ที่มาจาริกใช้เป็นที่พักสงฆ์ชั่วคราว จากพื้นที่ติดเชิงเขา เป็นสวนสาธารณะหมู่บ้านประมาณ ๑๕ ไร่โดยได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากชาวใต้ในพื้นที่และชาวอีสาน ที่มาทํางานในละแวก ใกล้เคียง โดยความทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจและความเมตตาของ “พระครูสังฆรักษ์ศิลธรรม วิมโล” หรืออีกชื่อที่ทุกคนเรียกขานว่า “ตาหลวงพร” ตามภาษาท้องถิ่น จากวันนั้นถึงวันนี้เสนาสนะภายในวัดได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลําดับ จากอาคารเอนกประสงค์หลังเล็กที่เคยใช้เป็นอาคารโรงเรียนได้เริ่มก่อสร้างเสนาสนะ เป็นศาลาการเปรียญและอื่นๆ จนเพียงพอแก่พระเณร และ แม่ชี แม่พราหมณ์ที่อยู่ ประจําเพื่อปฏิบัติธรรม โดยภายในวัดมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่ที่ล้มพิงกับภูเขาหิน และถ้ามรกต โดยรูปแบบของวัดบ่งบอกถึงความสงบร่มเย็นเมื่อได้เข้ามาสัมผัสซึ่ง เป็นสถานที่สัปปายะที่เอื้อเฟื้อต่อการภาวนาหรือผู้ที่เริ่มต้นปฏิบัติธรรมได้เข้ามาใช้ สถานที่มาสัมผัสกับความเป็นวัดป่าอย่างแท้จริง และอยู่คู่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป.
เจ้าอาวาสวัดป่าเคียนพิง |
๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็น
พระครูสังฆรักษ์
ฐานานุกรมใน พระราชไพศาลมุนี เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ธ)
|
เกรียงศักดิ์ เมฆสุข |
ศตวรรษ ทิมบำรุง |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook