|
VIEW : 1,577
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลท่านได้เป็นศิษย์ เรียนหนังสือชั้นต้นกับพระดำ วัดคูขุด บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๕ ปี อยู่ที่วัดแหลมวัง ได้รับญัตติอุปสมบทกรรมเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ ๒๓ ปี ท่านพระครูวิจารณ์ศีลคุณ (หรือรู้จักกันในนามพ่อท่านชู ท่านบวชตั้งแต่เป็นเณรอยู่วัดดอนคันตะวันออก นอกจากท่านเคร่งพระวินัยแล้วยังมีความรอบรู้ ในด้านจิตรกรรม ดนตรีฝีมือชั้นครู ปราชญ์ ทางด้านกลอน โคลง ฉันท์ กาพย์ ปั้นและแกะสลัก ทำภาพหนังตะลุง ) เจ้าคณะอำเภอจะทิ้งพระ วัดจะทิ้งพระ เป็นพระอุปัชฌายะ พระสมุห์นุ่ม และพระยก วัดจะทิ้งพระ ทั้ง ๒ องค์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทอยู่ที่วัดแหลมวัง ๗ พรรษา ในพรรษาที่ ๘ ได้เข้าไปศึกษาพระปริยัติธรรม และภาษาบาลี ในสำนักเรียนวัดพลับ กับพระอาจารย์วัน แต่ได้อาศัยอยู่ที่วัดหงษ์รัตนาราม จังหวัดธนบุรี อยู่ได้เพียง ๓ พรรษา ก็ต้องกลับ เพราะเกิดเหตุจำเป็นขึ้นทางบ้าน แล้วก็ไม่ได้โอกาสกลับเข้าไปเรียนอีก เพราะได้รับตำแหน่งหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดแหลมวัง และเป็นพระปลัด ฐานานุกรมของท่านพระครูวิจารณ์ศีลคุณ
ท่านได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งเจ้าคณะตำบล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ และเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูจันทรสาราภิรัต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕. การบากบั่นเข้าไปศึกษาในกรุงเทพฯของท่าน สำหรับสมัยนั้น ไม่ใช่เป็นของง่ายเลยย่อมเป็นเหมือนความฝันทีเดียว แต่ด้วยความรักการก้าวหน้า เพื่อให้ทันสมัย และเพื่อนฝูงท่านก็มีความรู้เป็นเกียรติประดับตัว ที่ควรภาคภูมิใจได้เหมือนกัน การสร้างวัดแหลมวัง จากสภาพเดิมที่คล้ายโคก-โรงวัว ให้มีกุฏิ-โรงครัว-ศาลาโรงธรรมและ-พระอุโบสถขึ้นซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาจนเป็นคนละสภาพย่อมได้รับการรับรองในความสามารถของท่านเป็นอย่างดี
ท่านมีนิสัยชอบพึ่งตัวเอง ทำงานเอง รักการทำงานที่ก้าวหน้าในด้านการก่อสร้าง มีฝีมือในการจักสาน และประดิษฐ์-คิดทำเครื่องใช้ได้เกือบทุกชนิด เป็นช่างไม้-ช่างปูน-ช่างปั้น-ช่างแกะสลัก-ฉลุ-เขียนลวดลายวิจิตรต่างๆ ออกความคิดในการทำอิฐ-เผาอิฐ
วัดแหลมวัง เป็นที่ขึ้นชื่อลือชาในทางฝีมือช่างมานาน ประชาชนชอบให้ลูกหลานไปบวช เพื่อจะได้เรียน-ฝึกหัดวิชา ปลูกเรือน ขุด-ต่อเรือ และวิชาอื่นๆ ในการประดิษฐ์เครื่องใช้นี้ เป็นที่น่าสังเกตอยู่บ้าง พ่อท่านคิดประดิษฐ์-ทำของใช้ได้หลายอย่าง เช่น จากลา-แมงดา ตรอง (กะชอน) เป็นต้น ซึ่งทำได้ด้วยความประณีต-สวยงามยิ่ง
พ่อท่าน ได้จัดสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นในวัดหลังหนึ่ง-ใหญ่มาก มอบให้เป็นสถานการศึกษาของกุลบุตร และกุลธิดาแก่ทางการ ได้จัดสร้างสะพานข้ามคลองแหลมวัง เสาคอนกรีต ปูพื้นกระดานไม้เคี่ยม ซึ่งเป็นสะพานแห่งแรกสำหรับท้องที่-ที่สร้างขึ้นอย่างมั่นคงแข็งแรง-ให้วัวควายเดินข้ามได้
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ นี้เอง ทางราชการได้ขอร้อง-มอบหมายเงินบำรุงท้องถิ่นจำนวนหนึ่ง ให้ท่านช่วยสร้างสะพานข้ามคลองบ้านพรวน ซึ่งเงินมีอยู่จำนวนน้อย ไม่พอสร้าง และหาคนสามารถควบคุมงานก่อสร้างให้สำเร็จได้ยาก แต่ท่านก็ได้สร้างสำเร็จไปแล้ว ท่านได้จัดการขุดสระน้ำใหญ่ขึ้นสระหนึ่ง ขังน้ำได้มาก ประชาชนได้ใช้กิน-ใช้อาบและ-เลี้ยงสัตว์พาหนะอย่างสะดวกสบาย เพราะท้องถิ่นนั้นกันดารน้ำ จึงเป็นที่ยินดีของประชาชนอย่างยิ่ง
ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ จนกระทั่งถึงมรณะภาพเป็นเวลาถึง ๒๘ ปี จึงมีศิษย์อยู่มากโดยทั่วไป ในเขตตำบลอันเป็นเขตปกครองของท่านได้เปิดสำนักเรียนสอบนักธรรมขึ้นถึง ๓ สำนัก ท่านได้สนใจ และเอาใจใส่ในการศึกษาของศิษย์อย่างดียิ่ง ได้จัดส่งศิษย์ไปศึกษาวิชาสามัญ-ชั้นสูงตามโรงเรียนรัฐบาลก็มาก ไปศึกษานักธรรม และภาษาบาลี จนสำเร็จเป็นเปรียญ และนักธรรมชั้นสูงในสำนักต่างๆก็มีไม่น้อย ย่อมแสดงถึงการปลูก-ฝังศิษย์ ด้วยการสงเคราะห์-อนุเคราะห์เกี่ยวกับอนาคตของชีวิต ให้เจริญก้าวหน้าในทางโลก และทางธรรมวินัยเป็นอย่างดี
ภาระหนักที่ท่านแบกอยู่ ทั้งเวลาอาพาธ และก่อนมรณะภาพ คือ การสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ และท่านได้ตั้งใจจะสร้างอย่างไว้ฝีมือจริงๆ ท่านเกิดมาเพื่องาน และมรณะภาพลงไป-ในขณะดำเนินงาน ทำงานจนสิ้นลมหายใจ ดัดเหล็กเองจนหมดกำลังจะดัด และสั่งงานสร้างพระอุโบสถ จนหมดเสียง-หมดลมปากจะสั่ง-พูดแผ่วจนฟังไม่ได้ยิน ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญที่บรรดาศิษย์จะต้องคิด-ต้องดำเนินงานเสริมสร้างต่อไปจนสำเร็จ
การตอบแทน สนองบุญคุณ ของผู้ที่มีพระคุณนั้น ไม่เฉพาะต่อกับพ่อท่าน แม้กับผู้มีพระคุณอื่นๆ ก็ควรทำให้เสมอกัน ไม่ควรคิดทำเพียงผักชีโรยหน้า-ชั่วครั้งชั่วคราว พอเป็นพิธีให้เอิกเกริกเท่านั้น บุญกุศลและความดี ย่อมอยู่ที่การกระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำให้มาก-ทำบ่อยๆ-ทำเสมอต้นเสมอปลาย
พ่อท่านได้ป่วยเป็นโรคชรา-กระเสาะกระแสะมาเป็นเวลานาน ซึ่งท่านได้เรียกมันว่าโรคเวรโรคกรรม เพราะรักษาไม่ถูก-ไม่หายสักที เวลาอาการกำเริบขึ้น ท่านก็หยุดทำงาน พอค่อยทุเลาลง ท่านก็ทำงานของท่านต่อไป ในที่สุดท่านก็ต้องพ่ายแพ้ต่อความเป็นธรรมดาของสังขาร และพวกเราทุกคน ก็ต้องแพ้มันเหมือนกัน แล้วก็ม้วนเสื่อกลับบ้านเก่ากัน
พ.ศ. ๒๔๖๗ | เป็น พระอุปัชฌาย์ |
พ.ศ. ๒๔๗๔ | เป็น เจ้าคณะตำบล |
เจ้าอาวาสอยู่ที่วัดแหลมวัง |
พระครูจันทรสาราภิรัต (จันทร์) มรณภาพ เมื่อวันอังคารที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง ด้วยอาการสงบอันดี รวมอายุของท่านได้ยังไม่เต็ม ๗๖ ปีบริบูรณ์
พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็น
พระครูสัญญาบัตร
ที่ พระครูจันทรสาราภิรัต
|
หนังสือเสียงสำนึกที่ พระประสิทธิศีลคุณ วัดประยุรวงศ ฯ ธน ฯ เขียนเมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๙๗. สำหรับแจกในงานพระราชทานเพลิงศพพ่อท่านจันทร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๗. |
เกรียงศักดิ์ เมฆสุข |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook