เมื่อท่านพระรามัญมุนี (ยิ้ม) มาครองวัดบวรมงคล จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นที่แพร่หลายอยู่นั้น ท่านสันซึ่งมีภูมิลำเนา อยู่แหล่งเดียวกัน ก็ได้เข้ามาศึกษาอยู่ด้วยท่านก็ได้อุปสมบทอยู่กับท่านรามัญมุนี ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ ในสำนักวัดบวรมงคล จนมีความรู้ในภูมิเปรียญรามัญ
เมื่อคราวที่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงโปรดฯ ให้ท่านพระรามัญมุนีเดินทางไป เมืองหงสาวดี เพื่อขอยืมต้นฉบับ พระไตรปิฎกนั้น ท่านเป็นอนุจรรูปหนึ่ง ที่ทางไปเมืองหงสาวดีด้วย เมื่อไปถึงเมืองหงสาวดีแล้ว ท่านพอใจศึกษาขนบธรรมเนียมพร้อมทั้งพระธรรมวินัย กับคณาจารย์ในเมืองหงสาวดีนั้น มิได้กลับมาพร้อมกับพระรามัญมุนี หลังจากได้ใช้เวลาศึกษาอยู่ในเมืองหงสาวดี ๗ พรรษาแล้ว ท่านได้กลับมายังเมืองไทยมาจำพรรษาอยู่วัดบวรมงคลตามเดิม
เมื่อท่านกลับมาจำพรรษาอยู่วัดบวรมงคลแล้ว ได้ช่วยพระอุปัชฌาย์ในการอบรมสั่งสอน พระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร ท่านได้เป็นกำลังของท่านรามัญมุนี ในสมัยนั้นจนเป็นที่กล่าวกันว่า คลังพระปริยัติธรรมสมัยพระรามัญมุนีที่เฟื่องที่สุด
ภายหลังพระครูอุดมญาณ เจ้าอาวาสวัดกวิศราราม จังหวัดลพบุรี ต้องการพระที่มีความเชี่ยวชาญด้านปริยัติ เพื่ออบรมสั่งสอนพระภิกษุ สามเณรในวัด แสดงความจำนง มายังวัดบวรมงคล ท่านพระสันจึงขึ้นไปช่วยบำเพ็ญศาสนกิจนี้ ท่านพระครูอุดมญาณได้แต่งตั้งท่าน ในตำแหน่งฐานานุกรมที่พระปลัด ท่านปฏิบัติหน้าที่ศาสนกิจอยู่ ณ วัดกวิศรารามนั้นด้วย ความเรียบร้อย
ครั้นล่วงมา ๑ พรรษา พระครูอุดมญาณ เจ้าอาวาสได้ถึงแก่มรณภาพ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกวิศรารามจึงว่างลง พระเถระผู้ใหญ่เห็นว่าท่านปลัดสันเป็นผู้มีการศึกษาดี เคยผ่านงาน คณะสงฆ์มามาก สามารถบริหารการคณะสงฆ์ไปได้ด้วยดี จึงแต่งตั้งท่านรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนั้น ภายหลังได้รับพระราทานสมณศักดิ์เป็นพระครูรามัญสมณคุตต์ ครองวัดกวิศรารามสืบมา
ท่านพระครูรามัญสมณคุตต์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกวิศราราม จังหวัดลพบุรี วัดนั้นถึง ๑๐ ปี ต่อมาเกิด ความเบื่อหน่าย จึงทูลลาจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกวิศราราม กลับมาอยู่ ณ วัดบวรมงคลตามเดิม
ครั้นต่อมา วัดราชคฤห์ จังหวัดธนบุรีได้ว่างลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำริเห็นว่า พระครูรามัญสมณคุตต์ ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกวิศรารามแล้ว มาจำพรรษาอยู่วัดบวรมงคล สมควรจะได้ช่วยปฏิบัติศาสนกิจส่วนนี้ จึงมีพระกรุณาโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์ให้ท่านเป็น ราชคณะที่พระอริยธัชแล้ว โปรดให้อาราธนาไปครองวัดราชคฤห์ ตั้งแต่นั้นมา
ท่านพระอริยธัชปกครองวัดราชคฤห์อยู่เป็นเวลา ๓ ปี พระธรรมวิสารทะ (เม่น) เจ้าอาวาสวัดบวรมงคล ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตลาสิกขา วัดบวรมงคลจึงว่างจากเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง จึงพระกรุณาโปรดฯ ให้ย้ายท่านพระอริยธัชกลับมาวัดบวรมงคล และทรงแต่งตั้ง ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรมงคลสืบมา พระอริยธัช (สัน) เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรมงคลอยู่เป็นเวลา ๖ พรรษา ในพรรษาที่ ๗ ท่านอาพาธหนัก ถึงแก่มรณภาพในกลางพรรษานั่นเอง เมื่อออกพรรษาแล้ว และถึงหน้ากรานกฐิน พระครูราชปริต (ลับแล) ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งในวัดบวรมงคลนี้ ครองกฐินแทน และได้รักษาการตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดบวรมงคล สืบมาระยะหนึ่ง ครั้งแล้วได้โปรดฯ ให้นิมนต์ท่านพระมหาจูเปรียญ ๔ ประโยค (รามัญ) ซึ่งขณะนั้นอยู่วัดปรมัยยยิกาวาส มาดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดบวรมงคลสืบไป
พ.ศ. ๒๔๒๖ - ๒๔๓๓ | เป็น เจ้าอาวาสวัดบวรมงคล |
เจ้าอาวาสวัดกวิศราราม | |
เจ้าอาวาสวัดราชคฤห์ |
|
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook