|
VIEW : 1,054
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลเมื่อเยาว์ได้ศึกษาภาษาหนังสือ ในความอุปถัมภ์ของท่านรองนากลัด สิทธิกูล ซึ่งเป็นญาติที่ใกล้ชิดคนหนึ่ง ท่านมีความรู้เกี่ยวกับภาษาหนังสือเสมอชั้นอ่านออกเขียนได้ตามที่นิยมกันในสมัยนั้น
พออายุย่างเข้า ๒๕ ปี มีความศรัทธาจะเข้าอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ท่านรองนากลัด สิทธิกูล ก็จัดการให้อุปสมบทตามความประสงค์
อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ พัทธสีมา วัดมะลิวัน ( ซึ่งสมัยนั้นเรียกวัดมะลวน) โดยมี พระอุปัชฌายะเย็น เจ้าอาวาสวัดบางงอน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการมนต์ ธมฺมปาโล วัดอัมพาราม (สมัยนั้นเรียก วัดมะม่วง) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการชุม จุนฺโท เจ้าอาวสวัดมะลิวัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า จนฺทวชิโร
หลังจากอุปสมบทแล้วไปอยู่จำพรรษากับพระอุปัชฌาย์ที่วัดบางงอน เป็นเวลาตามสมควร ในพรรษาต่อมา พระอธิการชุม จุนฺโท ผู้เป็นอนุสาวนาจารย์ มีความประสงค์จะให้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดมะลิวันกับท่าน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยในสำนักที่อยู่ใกล้หมู่ญาติ ก็ได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดมะลิวันนั้น เป็นเวลาหลายปี
ต่อมาวัดแหลมไผ่ มีจำนวนพระภิกษุสามเณรน้อยลง ผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาส (คือ พระอธิการด้วน พฺรหมฺสุวณฺโณ) พร้อมด้วยญาติในถิ่นนั้น ต้องการที่จะให้ท่านไปอยู่วัดแหลมไผ่ เพราะจะได้ซ่อมแซมเสนาสนะของวัดมีศาลาการเปรียญและอุโบสถ เป็นต้น ที่ชำรุดอยู่ ท่านก็ได้รับรองไปอยู่จำพรรษาที่วัดแหลมไผ่ นั้น เพื่อช่วยเหลือในการซ่อม สร้างเสนาสนะ ตามความประสงค์ของคณะญาตินั้นทุกประการ
ต่อมาพระศรีสมโพธิ เจ้าคณะมณฑลสุราษฎร์ ได้ออกตรวจราชการคณะสงฆ์ ได้เห็นสภาพของวัดพระโยค อำเภอเมือง มีส่วนบกพร่องอยู่เป็นอันมาก เพราะขาดเจ้าอาวาสปกครองวัด จึงได้บัญชาให้อาธนาท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระโยก ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๘
ภายหลังท่านพระครูวิธูรธรรมศาสน์ (กล่อม นนฺโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธาวาส อดีตเจ้าคณะแขวงบ้านดอน ได้เล็งเห็นว่า ท่านเป็นผู้เอาใจใส่ต่อกิจการของศาสนาดี จึงได้แต่งตั้งให้เป็นพระฐานานุกรม ที่ พระสมุห์ เพื่อช่วยเหลือภารกิจของคณะสงฆ์ในอำเภอเมืองสุราษฎรืธานี อีกหน้าที่หนึ่ง
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ การบริหารคณะสงฆ์ในอำเภอพระแสงว่างเจ้าคณะอำเภอลง พระธรรมปรีชาอุดมฯ อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยความสนับสนุนและร้องขอพระเทพรัตนกวี ครั้งยังเป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้พิจารณาแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอพระแสง เมื่อวันที่ ๕พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ท่านได้ปฏิบัติติหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารคณะสงฆ์มาด้วยความเรียบร้อยตลอดเวลาเป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิตและคฤหัสถ์ในอำเภอพระแสงนั้นเป็นอย่างสูง รุ่งปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ท่านก็ได้รับ ตำแหน่งพระอุปัชฌาย์และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูวิธูรธรรมศาสน์ ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ศกเดี่ยวกัน ได้ตรวจราชการคณะสงฆ์ในอำเภอพระแสงจนทั่วทุกวัด แม้ระยะหนทางกันดารอยู่มาก ท่านก็ได้พยายามไปดูสภาพของวัดนั้นด้วยสายตาของตนเอง และเพราะอาศัยความดีความชอบในการปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ ท่านจึงได้เลื่อนสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ และได้ปฏิบัติติการคณะสงฆ์เรียบร้อยเสมอมา
พ.ศ. ๒๔๔๘ | เป็น เจ้าอาวาสวัดพระโยค |
พ.ศ. ๒๔๗๕ | เป็น เจ้าคณะแขวงพระแสง |
พ.ศ. ๒๔๗๖ | เป็น พระอุปัชฌาย์ |
พระครูวิธูรธรรมศาสน์ (แดง จนฺทวชิโร) ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เวลา ๒๑.๑๒ น. ท่ามกลางชุมนุมศิษยานุศิษย์ มีพระเทพรัตนกวี เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น สิริอายุ ๙๓ ปี พรรษา ๖๘ ณ วัดพระโยค อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็น
พระสมุห์
ฐานานุกรมใน พระครูวิธูรธรรมสาสน์ (กล่อม นนฺโท) เจ้าคณะแขวงบ้านดอน
|
พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็น
พระครูประทวนสมณศักดิ์
|
๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็น
พระครูสัญญาบัตร
ที่ พระครูวิธูรธรรมศาสน์
|
พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็น
พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก
ในราชทินนามเดิม
|
หนังสือ เรื่องเห็นแก่ตัว พระธรรมรัตชโยดม (ก ธมฺมวร) พิมพ์แจกเป็นที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูวิธูรธรรมศาสน์ (หลวงพ่อแดง จนฺทวชิโร) อดีตเจ้าคณะแขวงพระแสง ณ เมรุ วัดพระโยก บ้านดอน สุราษฎร์ธานี ๒๐-๒๓ มกราคม ๒๕๐๒. |
เกรียงศักดิ์ เมฆสุข : เรียบเรียง |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook