|
VIEW : 1,284
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลการศึกษา จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนวัดละไม ซึ่งเป็นตัวประโยคสูงสุดในสมัยนั้น
อุปสมบท เมื่ออายุ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ พัทธสีมาวัดละไม โดยมี พระครูทีปาจารคุณารักษ์ (มี อินฺทสุวณฺโณ) เจ้าคณะอำเภอเกาะสมุยรูปที่ ๔ เจ้าอาวาสวัดสำเร็จ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูประยุตธรรมโสภิต (ทองไหล สิริวฑฺฒโน) เจ้าอาวาสวัดละไม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูพิทักษ์ทีปาจารย์ (นาค มุนินาโค) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสำเร็จ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฐานสุนฺทโร"
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดละไม ๒ พรรษา คือ พ.ศ. ๒๔๘๒- ๒๔๘๓ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้นักธรรมตรี-โท ตามลำดับ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เดินทางไปศึกษาบาลีที่วัดไตรธรรมาราม ช่วงนั้นเรียกว่า "วัดสามหม้าย" มีอาจารย์เจ้าอาวาส คือ พระปลัดเซ่ง วัดไตรธรรมาราม หรือ วัดสามหม้าย สมัยนั้นมีโรงเรียนสอนบาลี ชื่อโรงเรียนสมบุญบาลี โดยมี อาจารย์มหาภู่ เป็นครูใหญ่ ครูผู้สอนพออ่านออกเขียนได้มี อาจารย์มหาจันทร์ ต่อมาคือ พระศรีปริยัติโยดม เจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม อาจารย์มหาตั้ง ต่อมาคือ พระครูศรีทวีปธรรมวัฒน์ เจ้าอาวาสประเดิม อาจารย์มหาเต๊ก อาจารย์มหาจำเริญ ต่อมาคือ พระครูนทีสมานคุณ เจ้าอาวาสวัดนทีวัฒนาราม ในระหว่างที่หลวงพ่ออินทร์ ศึกษาอยู่ที่วัดไตรธรรมาราม ท่านสอบได้นักธรรมเอก แต่มิสามารถสอบผ่านเปรียญ ๓ ประโยค ได้ ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ จึงย้ายสำนักเรียนไปเรียนที่สำนักเรียนชะเมา ของ พระอธิการกลั่น จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียนบาลีอยู่ที่นั่น ๒ ปี ก็สอบประโยค ๓ และ ๔ ได้มหาเปรียญโดยสมบูรณ์ ในช่วงเวลานั้น จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในทางไสยศาสตร์มีวิทยาคมแก่กล้า มีความรู้ในทางทำวัตถุมงคลของขลังอยู่รูปหนึ่งคือ พ่อท่านเอียด ในคูเขียว วัดของท่านอยู่ในหุบเขา หลวงพ่ออินทร์ จึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาไสยเวทย์และการทำเครื่องรางของขลังต่างๆกับพ่อท่านเอียดเป็นเวลา ๑ พรรษา (พ่อท่านเอียด ท่านพระครูอดุลธรรมวิมล เคยนิมนต์มาเกาะสมุย พักที่วัดละไม) ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้กลับมาอยู่ที่วัดละไม ช่วยเหลือ พระครูประยุตธรรมโสภิต (ทองไหล สิริวฑฺฒโน) ในการสร้างเสนาสนะ คือ กุฏิ ๑ หลัง ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง ซื้อที่ดินให้โรงเรียนวัดละไม ๑ แปลง และกิจการอื่นๆอีกมากเป็นเวลา ๒ ปี ต่อมาวัดสระเกศว่างเจ้าอาวาสชาวบ้านและคณะสงฆ์อำเภอเกาะสมุย เห็นพ้องกัน ให้นิมนต์ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านได้สร้างศาลาการเปรียญ และขยายเนื้อที่ของวัดโดยการซื้อที่เพิ่ม จาก ๒๐ ไร่ เป็น ๔๐ ไร่ และสละที่ในสร้างโรงเรียนอีก ๘ ไร่ ยังอนุเคราะห์อุปกรณ์การเรียนให้กับนักเรียนที่อาศัยพักวัดสระเกศ นอกจากนี้ท่านยังสละในการทำสาธารณะประโยชน์เพื่อส่วนรวมอีก คือการบุกเบิกสร้างทางถนนสายรอบเกาะในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ และอุโบสถ์หลังใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ รัชกาลที่ ๑๐ (ขณะดำรงอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) พร้อมด้วยหม่อมเจ้าโสมสวลี ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานยกช่อฟ้า และทางวัดได้ถวายเหรียญหลวงพ่อแดง ติสฺโส แก่พระองค์เพื่อไปพระราชทานแก่ ทหาร ตำรวจ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่
ด้านเกษตรนอกจากเป็นพระนักพัฒนาแล้ว ท่านยังเป็นนักเกษตร ด้วยท่านได้สร้างปลูกสวนผลไม้ขึ้นในวัดโดยการทดลอง ปลูกทุเรียนเมืองนนท์ ลองกองปักษ์ใต้ ปลูกไว้สำหรับแจกจ่ายให้ชาวบ้าน
พ.ศ. ๒๔๙๓ | เป็น เจ้าอาวาสวัดสระเกศ |
พ.ศ. ๒๕๒๙ | เป็น เจ้าคณะตำบลตลิ่งงาม |
พ.ศ. ๒๕๓๐ | เป็น พระอุปัชฌาย์ |
พ.ศ. ๒๕๓๑ | เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอเกาะสมุย |
พ.ศ. ๒๕๓๒ | เป็น เจ้าคณะอำเภอเกาะสมุย |
พ.ศ. ๒๕๓๗ | เป็น หัวหน้าพระธรรมทูตอำเภอเกาะสมุย |
พระครูอดุลธรรมวิมล (พิมล ฐานสุนทโร ป.ธ.๔) มรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ สิริอายุได้ ๘๖ ปี พรรษา ๖๕
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็น
พระครูสัญญาบัตร
ที่ พระครูอดุลธรรมวิมล
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็น
พระครูสัญญาบัตร ชั้นโท
ในราชทินนามเดิม
|
ราเมศวร์ ทองสุข |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook