|
VIEW : 1,085
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลครั้นอายุสมควรแก่การศึกษาแล้ว บิดาได้นำไปฝากไว้ ในสำนักพระอธิการแทน วัดน้ำรอบอำเภอนั้น เพื่อจะได้ศึกษาอักษรสมัย ครั้นได้ศึกษาอักษรสมัยพอมีความชำนาญพอสมควรแก่สมัยนั้นแล้ว
เมื่ออายุเจริญขึ้นสมควรแก่การบรรพชาได้แล้ว จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมี พระกลัด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ๒ พรรษา เมื่อเหนื่อยหน่ายในสมณเพศแล้ว จึงได้สละเพศออกมาเป็นคฤหัสถ์ เพื่อประกอบอาชีพช่วยมารดาบิดา
เมื่ออายุได้ ๒๕ ปี จึงได้เข้ามาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดน้ำรอบ โดยมี พระอุปัชฌาย์เย็น วัดบางงอน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนุ้ย วัดท่าโขลง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแทน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทแล้วอยู่วัดน้ำรอบ เมื่ออุปสมบทแล้วก็หานิ่งนอนใจไม่ ได้อุตสาหะพยายามศึกษาพระธรรมวินัย กลับพระอธิการแทน ผู้เคยเป็นอาจารย์มาก่อนสิ้นเวลาได้ ๓ พรรษา ครั้นถึงพรรษา ๔ พระอธิการแทนก็ได้มรณภาพลง จึงได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสต่อมา ได้อยู่บริหารวัดนั้นถึง ๖ พรรษา เห็นว่าการที่ได้บริหารวัดมาเป็นการเพียงพอแล้ว จึงใคร่จะเสาะแสวงหาหนทางสงบอันเกิดจากการเจริญภาวนา จึงได้บ่ายหน้าไปในที่ต่าง ๆ เพื่อจะหาท่านที่ชำนาญในวิธีนั้น ๆ เลยได้เข้าไปอาศัยอยู่ในสำนักของพระครูปรีชา วัดบางกล้วย รองเจ้าคณะจังหวัด ได้พำนักอาศัยอยู่ในสำนักนั้นได้ ๒ พรรษา พรรษา เมื่อจะออกจากนั้นก็สมาทานเอาอรัญญิกธุดงค์ ออกจากวัดได้มุ่งตรงไปแรงกูล (ย่างกุ้ง) เพื่อจะได้ไปกระทำสักการเคารพนมัสการพระบรมเกศาธาตุ เมื่อกลับจากแรงกูลหาได้กลับไปสู่ภูมิลำเนาเดิมไม่ ได้กลับมาที่จังหวัดภูเก็ต ได้มาอาศัยอยู่ที่วัดโฆษิตวิหารนี้ ศึกษาวิปัสสนากับท่านรอดอยู่ได้ถึง ๔ พรรษา ออกพรรษาที่ ๔ แล้วก็ได้สมาทานเอาอรัญญิกธุดงค์อีก ต่อแต่นั้นก็ได้มุ่งตรงไปสู่ซิลอน (เกาะลังกา) ด้วยอำนาจปสาทศรัทธาเพื่อที่จะได้กระทำคารวะนมัสการ พระพุทธบาทที่ภูเขาบรมโกฏ และพระบรมธาตุในสถานที่ต่างๆ ทั้ง ๑๖ แห่ง ได้พักอาศัยอยู่ ณ ที่นั่นสิ้นเวลาได้ ๒ เดือนเศษ แล้วจึงได้เดินทางกลับมาสู่วัดโฆษิตวิหารตามเดิม ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะอยู่คอยเฝ้าปฏิบัติรักษา ท่านรอดผู้เป็นอาจารย์สอนวิปัสสนา เพราะเห็นว่าท่านรอดอาจารย์ได้มีสังขารร่างกายชรา และทุกส่วนทุกพลภาพลงมากแล้ว อยู่จนกระทั่งท่านรอดผู้เป็นอาจารย์ ได้มรณภาพลงไปตามธรรมดาของสังขารได้จัดการฌาปนกิจศพท่านรอดผู้เป็นอาจารย์ของท่านเสร็จแล้ว ได้กลับไปสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีก เผื่อจะเยี่ยมญาติของท่านได้พักอยู่ ๑ พรรษา ครั้งต่อมาท่านชู วัดโฆษิตวิหารได้มรณภาพลง บรรดาพุทธบริษัททางภูเก็ตได้ชวนกันขอร้องไปเพื่อให้ท่านกลับมาสู่จังหวัดภูเก็ตอีก จะได้มาช่วยเหลือในการทำฌาปนกิจศพท่านชู เมื่อท่านได้ทำการปลงศพท่านชูสำเร็จแล้ว จึงได้พักอยู่ที่วัดโฆษิตวิหารตามเดิมอีก สมัยนั้น พระธรรมปาลาจารย์ เป็นเจ้าคณะมณฑลภูเก็ต ท่านได้พักอยู่ที่วัดโฆษิตวิหาร และได้มอบหมายให้ท่านช่วยเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อไป คลังท่านได้รับมอบหมายเช่นนั้นแล้ว ก็ได้จัดการบริหารวัดให้เป็นการเรียบร้อย และให้มีความรุ่งเรืองเจริญดี สมกับที่ผู้ใหญ่ท่านได้ไว้วางใจและเชื่อความสามารถ สมกับที่ผู้ใหญ่ท่านประพฤติและปฏิบัติ ในตำแหน่งหน้าที่เรียบร้อยดีเช่นนั้น เป็นที่ชอบอก ต้องใจของท่านผู้ใหญ่เป็นอันมาก
เจ้าอาวาสวัดโฆษิตวิหาร |
พระครูวินัยธร ซ่อง สุวณฺโณ มรณภาพ เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีชวด เวลา ๒๑.๐๐ น. ตรงกับวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๑ อายุ ๘๐ พรรษา ๕๕
๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็น
พระครูวินัยธร
ฐานานุกรมใน พระธรรมปาลาจารย์ เป็นเจ้าคณะมณฑลภูเก็ต
|
๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็น
พระครูวินัยธร
ฐานานุกรมใน พระธรรมปาลาจารย์ เป็นเจ้าคณะมณฑลภูเก็ต
|
เกรียงศักดิ์ เมฆสุข |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook