|
VIEW : 799
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลเมื่ออายุได้ ๗ ขวบ บิดาได้นำไปฝากกับพระอธิการครื้น เจ้าอาวาสวัดบางพลา เพื่อศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย และได้เรียนจบหลักสูตร ซึ่งพระสงฆ์เป็นครูสอนอยู่ในสมัยนั้น
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ณ วัดบางใหญ่ ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี พระธรรมปรีชาอุดม (พุ่ม โชติปาโล ป.ธ.๓) เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดตรณาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และอยู่ประจำศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรม ณ วัดบางใหญ่ ๑ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้ย้ายเข้ามาจำพรรษา ณ วัดไทร อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาต่อ
อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ณ วัดบางพลา โดยมี พระธรรมปรีชาอุดม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูชลาทรธํารง เจ้าคณะตำบลลีเล็ด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแจะ อินฺทมณี เจ้าอาวาสวัดบางพลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้ว ย้ายมาอยู่วัดไทร อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. ๒๔๖๙ สอบได้ นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดบางใหญ่ |
พ.ศ. ๒๔๗๐ สอบได้ เปรียญธรรม ๓ ประโยค สำนักเรียนวัดไตรธรรมาราม |
พ.ศ. ๒๔๗๑ สอบได้ นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดไตรธรรมาราม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี |
พ.ศ. ๒๔๗๔ สอบได้ นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดไทร (ขณะที่ยังเป็นสามเณร) |
พ.ศ. ๒๔๘๗ สอบได้ เปรียญธรรม ๔ ประโยค สำนักเรียนวัดไตรธรรมาราม |
พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบได้ เปรียญธรรม ๕ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๙๔ สอบได้ เปรียญธรรม ๖ ประโยค |
เมื่อ พระครูวิจารณ์สมถกิจ ได้เดินทางเข้าไปศึกษาในสำนักเรียนวัดมหาธาตุ พระนครแล้ว ก็ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง เนื่องจากวัดมหาธาตุ เป็นสำนักเรียนใหญ่ เป็นที่ตั้งวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งสงฆ์ในส่วนกลาง ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวางระเบียบไว้หลายประการ เช่นว่า ผู้จะเข้าประจำอยู่ในสำนักเรียนนี้ จะต้องรับการอบรมอยู่ ๑ พรรษา หลังจากเสร็จสิ้นการอบรม จะต้องสอบความรู้ทั่วไป เพื่อให้ได้มาตรฐานของสำนัก ในฐานะผู้เข้าไปอยู่ใหม่ ปรากฏว่า พระครูวิจารณ์สมถกิจ ก็ได้ผ่านการอบรม และสอบความรู้ทั่วไป ได้รับประกาศนียบัตรแสดงความชมเชยและความสามารถจากอธิบดีสงฆ์เป็นกรณีพิเศษไว้ด้วย
ในขณะศึกษาอยู่ในสำนักเรียน ก็ได้มีโอกาสเข้าเรียนวิชาการประพันธ์ จากโรงเรียนการประพันธ์ทางไปรษณีย์ และสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรในด้านสาขาวิชานี้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ นอกจากนี้ ก็ได้ศึกษาพระอภิธรรมอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ยังไม่ทันจบหลักสูตร ก็ได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง ในขณะนั้น เรียกตัวให้เข้าไปอบรมวิปัสสนากรรมฐาน หลังจากได้ผ่านการปฏิบัติมาพอสมควรแล้ว ก็เลยฝึกเป็นครูสอนอยู่ขณะหนึ่ง จึงได้เดินทางกลับจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. ๒๔๘๐ | เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไทร |
พ.ศ. ๒๔๙๙ | เป็น พระวิปัสสนาจารย์ ทำหน้าที่ช่วยงานพระศาสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระ โดยเปิดสำนักสอนขึ้นที่วัดพัฒนาราม อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี |
พ.ศ. ๒๔๘๐ | เป็น ครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ณ วัดไทร |
พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๔๙๕ | เป็น ครูสอนนักธรรม ณ วัดหัวลำโพง พระนคร |
พ.ศ. ๒๔๙๔ | เป็น กรรมการตรวจธรรมสนามหลวง |
นอกจากนี้ ยังได้ทำหน้าที่เป็นพระกรรมวาจาจารย์และอนุสาวนาจารย์ช่วยเหลืออุปัชฌาย์ ในการให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรเป็นประจำ ในสมัยที่พระอนุสรณ์ธรรมศาสน์ ดำรงตำแหน่งสาธารณูปการจังหวัด พระครูวิจารณ์สมถกิจ ก็ได้เป็นกำลังหน้าที่แทนอยู่หลายปี ในด้านการแสดงพระธรรมเทศนา ก็ปรากฏว่าเป็นพระธรรมกถึกที่สาธุชนยกย่องว่าแสดงธรรมได้ดี สมกับเป็นนักปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง
พระครูวิจารณ์สมถกิจ ได้เริ่มอาพาธเป็นโรคมะเร็งในลำคอ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จะได้รักษาพยาบาลเรื่อยมา ได้เดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยความช่วยเหลือของญาติมิตร ศิษย์ หลายครั้งหลายคราวจนสุดวิสัยสามารถ และได้ถึงแก่มรณภาพ โดยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๐ เวลา ๒.๓๕ น. ณ วัดไทร อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี รวมอายุได้ ๕๘ ปี พรรษา ๓๖
พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็น
พระครูสัญญาบัตรชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ที่ พระครูวิจารณ์สมถกิจ
|
เกรียงศักดิ์ เมฆสุข |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook