พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล ป.ธ.๙) | พระสังฆาธิการ

พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล ป.ธ.๙)


 
เกิด ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖
อายุ ๙๐ ปี
อุปสมบท ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
พรรษา ๗๐
มรณภาพ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
วัด วัดสุทธจินดา วรวิหาร
ท้องที่ นครราชสีมา
สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
วุฒิการศึกษา ป.ธ.๙


VIEW : 1,658

เพิ่ม/แก้ไขข้อมูล

สถานะเดิม


     พระอริยเวที มีนามเดิมว่า เขียน ภูสาหัส เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ณ บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โยมบิดาชื่อนายสังข์ โยมมารดาชื่อนางค้อม ภูสาหัส


บรรพชาอุปสมบท

     บรรพชา เมื่อมีอายุได้ ๑๕ ปี เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ วัดสุทธจินดา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

     อุปสมบท เมื่อมีอายุได้ ๒๑ ปี เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

     หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็ออกศึกษาวิชาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่าน จนท่านสามารถสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ในสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕

     ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ หลวงปู่เขียน ได้เข้ากราบฟังธรรม ปฏิบัติธรรม ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลังจากที่สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคใหม่ ๆ โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้นำไปฝาก ทั้งนี้ เพื่อประสงค์ให้หลวงปู่ท่านได้เป็นศาสนทายาทที่มีความหนักแน่นมั่นคง ทั้งด้านปริยัติธรรมและด้านปฏิบัติ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุสามเณรในภายภาคหน้า หลังจากที่ท่านได้ฟังธรรมและปฏิบัติได้ดีแล้ว ท่านจึงออกธุดงค์ กัมมัฏฐานไปตามป่าเขาลำเนาไพรในจังหวัดต่างๆ จนออกไปถึงประเทศลาว และแวะเวียนมาเข้ากราบฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่นเป็นระยะ ๆ

     หลวงปู่เขียน ทั้งอุทิศตน ทั้งบำเพ็ญปฏิบัติทางด้านประโยชน์ให่แก่ทางด้านพระพุทธศาสนาไม่น้อย ทั้งด้านการศึกษา ทางด้านการปกครอง ท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ต่อมาหลวงปู่เขียนได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ของวัดสุทธจินดา เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านได้บริหารวัด ช่วยสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับวัด ทั้งตั้งเป้าหมายสูง มีระเบียบกับสามเณรและภิกษุสงฆ์อย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการคดเลือกหมู่คณะให้ไปรับการอบรมเป็นนักเรียนครู และ นักเรียนการปกครอง ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เพื่อให้กลับมาเป็นบุคลากรบริหารวัดช่วยเจ้าอาวาส อนุสรณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ท่านได้ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิ “สุทธจินดาราชสีมามูลนิธิ" ต่อมาท่านก็เดินธุดงค์ออกไปยังถ้ำจนเป็นที่พอแก่กาลแล้ว จึงกลับมาสู่มาตุภูมิและสร้างวัดรังสีปาลิวันในปัจจุบัน เพื่อนำพระภิกษุสามเณร ประชาชนศึกษาธรรมและประพฤติธรรมจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และได้ช่วยเหลืองานทางด้านพระพุทธศาสนา


การศึกษา

พ.ศ. ๒๔๘๕ สอบได้ เปรียญธรรม ๙ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

ตำแหน่ง

ฝ่ายปกครอง

พ.ศ. ๒๔๘๕  เป็น สมาชิกสังฆสภา
พ.ศ. ๒๔๘๙  เป็น พระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๔๙๐  เป็น เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา
พ.ศ. ๒๔๙๔  เป็น เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธ)

ฝ่ายการศึกษา

พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๘๑  เป็น ครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดสุทธจินดา และวัดศาลาทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. ๒๔๘๒  เป็น ครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ และสำนักเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

มรณกาล


     พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล ป.ธ.๙) มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ สิริรวมอายุได้ ๙๐ ปี พรรษา ๗๐

สมณศักดิ์


๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอริยเวที

ที่มา


ทำเนียบอดีตพระราชาคณะภาคอิสาณ


แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com

www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่

พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook