|
VIEW : 2,100
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลท่านได้รับการศึกษาอย่างจริงจังเมื่ออายุได้ ๑๔-๑๕ ปี โดยได้ติดตามพระภิกษุขุน (ผู้พี่ชาย) เข้าไปศึกษาอยู่ที่วัดสุปัฏนาราม ในเมืองอุบลราชธานี ต่อมาเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูวิจิตรธรรมภาณี ได้พาเข้าไปกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗
ฝากไว้ในสำนักเจ้าคุณพระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเมธาธรรมรส แห่งวัดพิชัยญาติการาม โดยให้บรรพชาเป็นสามเณรเพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม
พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในส่านักแห่งนั้น โดยมี พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระราชเมธี (ท้วม กณฺณวโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนสำเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๔ ประโยค ณ สำนักเรียนวัดพิชยญาติการาม
พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๘๗ | เป็น เจ้าอาวาสวัดศรีอุบลรัตนาราม |
ผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน | |
เจ้าคณะมณฑลร้อยเอ็ด | |
เจ้าคณะมณฑลอุดรธานี |
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) สังฆนายก ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอีสาน ได้ขอตัว พระมหาเสน ชิตเสโน ออกไปเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสานเมื่อท่านได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไปโดยลำดับแล้ว จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระศาสนดิลก แทน มีข้อน่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่า ตามธรรมดาพระเปรียญตั้งแต่ ๕ ประโยคขึ้นไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะถ้า ๓-๔ ประโยคต้องดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูเสียก่อน จึงเป็นพระราชาคณะได้ แต่เพราะท่านเป็น “พระสหชาติ” (ผู้เกิดร่วมสมัย วัน เดือน ปี เดียวกัน) ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
จึงทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำแหน่งพระราชาคณะที่ พระศาสนดิลก ซึ่งจัดได้ว่าเป็นกรณีพิเศษส่วนหนึ่งและในฐานะที่ท่านเป็นพระสหชาติครั้นเป็นพระราชาคณะแล้ว ไม่นานก็ได้ย้ายจากวัดสุปัฏนารามไปเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีอุบลรัตนารามอนึ่ง ในฐานะที่ท่านเป็นพระสหชาติ ซึ่งเมื่อพระสหชาติรูปอื่นๆ ได้รับพระราชทานเครื่องบริขารที่ระลึกในวาระสำคัญใด ท่านก็จะได้รับพระราชทานเครื่องบริขารอย่างนั้นทุกคราวไป
ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) รูปนี้ ท่านเป็นคนพูดพอประมาณ มักน้อยสันโดษ ชอบวิเวก หนักแน่นในพระธรรมวินัย มีปกติเห็นภัยในโทษแม้ประมาณน้อย สงบเสงี่ยมอยู่ในฐานะเป็นผู้น้อย ชอบเอาอย่างพระราธะ คือ เป็นผู้อดทนต่อโอวาทและอนุศาสน์ ทนได้ทั้งร้อน คือ เดช และทนได้ทั้งเย็น คือ คุณ เมื่ออยู่ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ก็วางตนให้เหมาะแก่ภาวะมีพระเดชก็ไม่มากถึงกับเสียพระคุณแม้มีพระคุณก็ไม่เกินไปถึงกับเสียพระเดช มั่นคงในพรหมวิหาร เอาภาระในผู้เจ็บป่วย หมั่นแนะนำพร่ำสอนศิษย์ไม่ให้ก่อเวร และให้ระงับเวรด้วยความไม่มีเวร ปฏิปทาของท่านจึงเป็นที่ดูดดื่มไม่จืดจาง
ทนต่อความเพ่งของผู้รู้ทั้งหลายโดยปกติท่านมีโรคหืดประจำตัว ต่อมาเห็นว่าจะไม่สามารถรับราชการไปได้ จึงทูลลาออกแต่ก็ยังเป็นอุปัชฌาย์ เอาธุระสั่งสอนพระภิกษุ สามเณรเป็นกำลังแก่พระพุทธศาสนาตลอดมา
เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ โรคหืดที่เรื้อรังมานานไม่หายขาดนั้น ได้เป็นหนักขึ้น ในที่สุดจึงได้ถึงแก่มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔ เวลา ๐๖.๐๐ น. สิริอายุรวมได้ ๖๑ ปี พรรษา ๔๐
ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เป็นพระเถระด้านคันถธุระที่สำคัญองค์หนึ่งของเมืองอุบลราชธานีในยุคแรกๆ ที่ได้นำรูปแบบการปกครอง การศึกษาสงฆ์ และขนบธรรมเนียมปฏิบัติในเมืองหลวงออกสู่หัวเมืองในภูมิภาค ทำให้กุลบุตรผู้ใฝ่เรียนทั้งหลายในรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนทั้งคดีธรรม และคดีโลก จนมีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยและบาลีมากขึ้นเป็นลำดับ นับได้ว่าท่านได้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประชาชน และประเทศชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก สมควรได้รับยกย่องเชิดชูให้เป็น “ปราชญ์” แห่งเมืองอุบลราชธานีอย่างแท้จริง
|
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook