|
VIEW : 2,314
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ป้าแก้วได้ถึงแก่กรรมลง เด็กชายสนั่นจึงบวชเณรหน้าไฟอุทิศให้ป้า ณ วัดบูรพาพิสัย จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอธิการเคน คมฺภีรปญฺโญ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วท่านพอใจในสมณเพศมาก มากจึงดำรงสมณเพศต่อมาโดยไม่ลาสิกขาบท เมื่ออยู่วัดบูรพาพิสัยได้ ๔ ปี พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) ได้พาท่านมาอยู่วัดศรีทอง (ปัจจุบันคือวัดศรีอุบลรัตนาราม) และได้เรียนภาษาไทยและภาษาบาลีกับพระศรีธรรมวงศาจารย์ (ทองจันทร์ เกสโล)
พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เห็นว่าสามเณรสนั่นมีความประพฤติดี มีความเพียร ความอดทน และใฝ่เรียนจึงได้ได้พาท่านมาฝากกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ถึง พ.ศ. ๒๔๗๑ ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส โดยมี พระครูศีลวรคุณ (อ่ำ ภทฺราวุโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมราภิรักขิต (ชัย ชิตมาโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้นามฉายาว่า จนฺทปชฺโชโต
พ.ศ. ๒๔๖๙ สอบได้ นักธรรมชั้นตรี |
พ.ศ. ๒๔๗๐ สอบได้ นักธรรมชั้นโท |
พ.ศ. ๒๔๗๑ สอบได้ เปรียญธรรม ๓ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๗๒ สอบได้ เปรียญธรรม ๔ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบได้ เปรียญธรรม ๕ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๗๔ สอบได้ เปรียญธรรม ๖ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๗๕ สอบได้ นักธรรมชั้นเอก |
พ.ศ. ๒๔๘๐ สอบได้ เปรียญธรรม ๗ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๘๔ สอบได้ เปรียญธรรม ๘ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบได้ เปรียญธรรม ๙ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๘๖ | เป็น สมาชิกสังฆสภา |
พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๔๑ | เป็น เจ้าอาวาสวัดนรนาถสุนทริการาม พระอารามหลวง |
พ.ศ. ๒๕๑๐ | เป็น เจ้าคณะภาค ๘ และ ๑๐ (ธ) |
พ.ศ. ๒๕๑๒ | เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม |
เจ้าคณะภาค ๘ (ธ) |
สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ อาพาธด้วยโรคไตและโรคปอด ต่อมามีอาการรุนแรงขึ้น และมีโรคเบาหวานและหอบเกิดขึ้นแทรกซ้อนและถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑ เวลา ๑๓.๔๐ น. ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ ตึกสามัคคีเนรมิตร วัดนรนาถสุนทริการาม ได้รับพระราชทานโกศไม้สิบสองบรรจุศพ รับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด และมีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเวลากลางคืนกำหนด ๗ คืน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันจันทร์ที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒ เวลา ๑๗.๓๐ น.
๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระอมรเวที
|
พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็น
พระราชาคณะชั้นราช
ในราชทินนามเดิม
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็น
พระราชาคณะชั้นเทพ
ที่ พระเทพวราภรณ์ ธรรมนีติปกรณ์โกศล วิมลญาณนายก ตรีปิฎกคุณาลังการ ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[1]
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็น
พระราชาคณะชั้นธรรม
ที่ พระธรรมวราภรณ์ สุนทรอรรถสาทิส วิจิตรธรรมภาณี ตรีปิฎกคุณาลังการ ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[2]
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็น
รองสมเด็จพระราชาคณะ
มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกคุณาลงกรณ์ ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็น
สมเด็จพระราชาคณะ
ที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธพจนานุสิฐ วิจิตรธรรมานุศาสน์ปสาทกร สุนทรพิพิธธรรมจารี ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
|
1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๕, ตอนที่ ๑๐๙ ง, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๑, หน้า ๓๑๓๓ |
2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๐, ตอนที่ ๑๒๒ ง, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖, หน้า ๑ |
ทำเนียบอดีตพระราชาคณะภาคอิสาณ |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook