|
VIEW : 1,707
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลช่วงวัยเยาว์เข้าเรียนที่โรงเรียนประชา บาลท่าลาดขาว จนสำเร็จประถมศึกษาปีที่ ๔ ก่อนลาออกมาช่วยโยมบิดามารดา
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ วัดพลับพลา ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมี พระครูพรหมพงศ์พิสุทธิ์ (ภู่ พรหมสโร) วัดพลับพลา เป็นพระอุปัชฌาย์
ในระหว่างเป็นสามเณร ศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๔๘๙ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ที่สำนักเรียนวัดท่าลาดขาว ก่อนย้ายมาเรียนในกรุงเทพฯ อยู่ที่วัดจักรวรรดิ
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ณ พัทธสีมาวัดจักรวรรดิราชาวาส แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยมี พระคุณาจารวัตร (ไช้ สุวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณณกมหาเถร) เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเมธี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวรญาณมุนี (เสถียร ธัมมสาโร) วัดจักรวรรดิราชาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ภายหลังอุปสมบท ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๔๙๖ สามารถสอบได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค
จากนั้นท่านเดินทางไปศึกษาต่อประเทศอินเดีย และสอบได้ปริญญา ปฏิอาจาริยะ คือ ปริญญาโท ฝ่ายภาษาและวรรณคดีบาลี ตามหลักสูตรการศึกษาอย่างเก่าของอินเดีย รัฐบาลเทียบฐานะเท่าปริญญาตรี เกียรตินิยมของหลักสูตรระบบใหม่ โดยศึกษารวม ๙ หมวดวิชา ตอบด้วยภาษาบาลีทั้งสิ้น ควบคู่กับภาษาอังกฤษ แต่ในการถามตอบด้วยภาษาบาลีทั้งสิ้น ดำเนินการสอบโดยมหาวิทยาลัยสันสกฤต แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๐๙ ผลจากการเรียนดี ทำคะแนนในการสอบได้ดีดังกล่าว สถาบันการศึกษาพุทธศาสนานาลันทาได้เสนอชื่อให้ได้รับทุนทำปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยพาราณสี เมืองพาราณสี รัฐอุตตระ ประเทศอินเดีย
เข้าเป็นนักศึกษาปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยพาราณสี ค้นคว้าเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ด้านภูมิประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา โดยได้รับทุนการศึกษาในชั้นต้นจากมหาวิทยาลัยพาราณสี และต่อมาเปลี่ยนเป็นทุนที่สูงขึ้นจากรัฐบาลอินเดีย แต่ด้วยสุขภาพไม่อำนวย จึงต้องงดการศึกษา และกลับประเทศไทยในพ.ศ. ๒๕๑๘
พ.ศ. ๒๔๘๙ สอบได้ นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ สำนักเรียนวัดท่าลาดขาว |
พ.ศ. ๒๔๙๖ สอบได้ เปรียญธรรม ๗ ประโยค |
พ.ศ. ๒๕๐๗ สอบได้ ประกาศนียบัตรชั้นสูงภาษาฮินดี จาก สถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนานาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย |
พ.ศ. ๒๕๐๘ สำเร็จ ปริญญาโท (M.A.) ทางพระพุทธศาสนา ฝ่ายบาลี จาก มหาวิทยาลัยมคธ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย (ได้คะแนนเป็นที่ ๒) |
พ.ศ. ๒๔๙๙ | เป็น เลขานุการสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณณกมหาเถร) เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมธีรราชมหามุนี เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทย ในการสังคายนา ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า และได้รับแต่งตั้งขั้นสุดท้ายแห่งการชำระพระไตรปิฎก ในการทำสังคายนาดังกล่าวได้จำพรรษาอยู่ ณ ประเทศพม่า ๑ พรรษา |
พ.ศ. ๒๕๔๙ | เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร |
พระราชธรรมมุนี (เกียรติ สุกิตฺติ ป.ธ.๗) มรณภาพด้วยโรคเลือดออกทางเดินอาหาร เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ โรงพยาบาลกลาง สิริอายุ ๗๘ พรรษา ๕๗
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระศรีกิตติโสภณ
[1]
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็น
พระราชาคณะชั้นราช
ที่ พระราชธรรมมุนี ศรีปาพจนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[2]
|
1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๒, ตอนที่ ๒๖๓ ง, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘, หน้า ๖ |
2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๓, ตอนที่ ๒๓ ข, ๕ ธันวาคม ๒๕๓๙, หน้า ๑๗ |
ข่าวสด |
ทำเนียบพระราชาคณะชาติภูมินครราชสีมา |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook