พระราชญาณดิลก (ชิต กนฺตสีโล ป.ธ.๕) | พระสังฆาธิการ

พระราชญาณดิลก (ชิต กนฺตสีโล ป.ธ.๕)


 
เกิด ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐
อายุ ๙๐ ปี
อุปสมบท ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐
พรรษา ๗๐
มรณภาพ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐
วัด วัดเขาเต่า
ท้องที่ ประจวบคีรีขันธ์
สังกัด ธรรมยุติกนิกาย


VIEW : 2,116

เพิ่ม/แก้ไขข้อมูล

สถานะเดิม


     พระราชญาณดิลก เกิดเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่หมู่บ้านทำเลไทย ตำบลบ้านขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดามารดามีอาชีพทำนา

     เมื่อ ท่านอายุได้ ๕ ปี บิดาก็ส่งเข้าเรียนภาษาไทยแบบโบราณ ที่วัดทำเลไทย จนอายุได้ ๑๐ ปีบิดาได้ให้ไปเรียนที่โรงเรียน วัดทองบ่อ อายุ ๑๓ ปี ได้เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่ วัดนิเวศธรรมประวัติจนจบชั้นประถมปีที่ ๔


บรรพชาอุปสมบท

     จากนั้นได้บวช เป็นสามเณรที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระญาณวรากรณ์ คือสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวง วชิรญาณวงศ์ เป็นพระสรณคมณาจารย์

     ท่านเจ้าคุณได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง เมื่อบวชเป็นสามเณร ได้ ๑ พรรษาก็สอบนักธรรมตรีได้ พรรษาที่ ๒ สอบบาลี ประโยค ๓ ปีต่อมาสอบบาลีประโยค ๔ ได้ที่วัดพระศรี รัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วนับว่าชีวิตในวัยเด็กของ ท่านเจ้าคุณเป็นวัยที่เริ่มต้นที่ดีพร้อม คือ ความคิดดี ความประพฤติดี และการปฏิบัติตนที่ดีทำให้บิดา มารดา ญาติพี่น้องมีความปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง

     ครั้นเมื่ออายุครบปีที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ เสด็จในกรมพระนคร สวรรค์วรพินิต ได้รับเป็นผู้อุปถัมภ์ของเสด็จในกรม ได้

     อุปสมบท เป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมาโรดม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่า "กนฺตสีโล"

     เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ ๑ พรรษา ก็สอบบาลีประโยค ๕ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพิชัยญาติการาม ใช้เวลาส่วนใหญ่สอนพระธรรมวินัย และพระปริยัติธรรมแก่ พระภิกษุสามเณรด้วย


ผลงาน

     ผลงานของท่านเจ้าคุณฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานสมณศักดิ์ ด้วยพระองค์เองให้เป็นที่ "พระภัทรมุขมุณี" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ และปีต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี ในคณะสงฆ์ ๒ นิกายซึ่งมีการปกครองรวม ๗ จังหวัด คือ ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด นครนายก ฉะเชิงเทรา และจันทบุรี

     ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ กรมการศาสนานิมนต์ท่าน ไปช่วยงานด้านศาสนาที่วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ ๙ เดือน ก็กลับมาอยู่ที่วัดพิชัยญาติการาม ตามเดิมรวมเวลาที่จำพรรษานานถึง ๒๐ ปี

     ต่อมาทางคณะสงฆ์เห็นสมควรที่จะส่งภิกษุจากส่วนกลาง ที่มีความรู้ทาง พิธีการสงฆ์และพิธีหลวง ตลอดจนมีความรู้ทางบาลีและ วินัยสงฆ์ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นศูนย์กลางศาสนาที่เก่าแก่ ของประเทศ ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสอันมีท่านเจ้าคุณใหญ่พระรัตนมุณี เป็นเจ้าอาวาส ท่านเจ้าคุณอยู่ที่ วัดพระมหาธาตุนานถึง ๒๐ ปี ได้ทำประโยชน์ให้อย่างมาก ต่อมาทางวัดเขาเต่าขาดเจ้าอาวาส เพราะเจ้าอาวาสเดิมได้ มรณภาพ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เสด็จแปรพระราชฐานประทับที่ พระราชวังไกลกังวล ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรเป็นประจำ พระองค์ เสด็จไปที่หมู่บ้านเขาเต่า ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน ทรงมีพระราชดำริว่าวัดเขาเต่าขณะนั้นไม่มีเจ้าอาวาสที่จะเป็นหลักให้แก่ วัดและเป็นที่พึ่งทางใจแก่ชาวบ้านไดจึงทรงพระราชปรารภ กับท่านเจ้าคุณธรรมปัญญาจารย์ เจ้าอาวาส วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ซึ่งท่านเจ้าคุณได้ถวายพระพร ว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งที่เหมาะสมที่จะเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน เขาเต่าได้ ขณะนี้จำพรรษาอยู่ที่วัดพระมหาธาตุ จึงโปรด เกล้าฯ ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาเต่าเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดที่ทรุดโทรมและได้อบรมพระธรรมวินัยแก่ภิกษุสามเณร ตลอดจนเป็นที่พึ่งให้แก่ชาวบ้านด้วย ทั้งยังเป็นพระภิกษุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้วาง พระราชหฤทัย และทรงโปรดที่จะมีพระราชปฏิสันถาร เกี่ยวกับข้อธรรมะ

     ในโอกาสที่ทรงพบเพราะท่านเป็นนัก ศึกษาเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบ มีความรอบรู้อย่างกว้าง ขวางในพระธรรมวินัย จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ "พระราชญาณดิลก" เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาประทับ ที่หัวหิน ท่านเจ้าคุณยังเป็นที่พึ่งของบรรดาพ่อค้าคหบดี ข้าราชการ ชาวบ้าน ตลอดจนทหารตำรวอาสาสมัคร ตลอดเวลาที่จำพรรษา อยู่ที่นครศรีธรรมราชก็ดี ที่ประจวบคีรีขันธ์ก็ดี ดินแดนใดที่ใคร ๆ พากันหวั่นเกรง อันตรายจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ท่านก็ไปไม่กลัว อันตรายทั้งสิ้นไปเยี่ยมทหารตำรวจชายแดนเสมอต่อมา เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้มรณภาพ ทางคณะ สงฆ์ผู้ใหญ่ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัดประจวบฯ

     ท่านมีกระแสจิต คือจิตที่แน่วแน่ไม่มุ่งลาภ ยศ ไม่มุ่งผล อันเกิดแต่สิ่งนั้น เป็นจิตที่พร้อมด้วยความเมตตากรุณา จิตนี้ช่วยให้ขลัง ท่านได้สร้างพระผงเป็นดินเผาหลาย ชนิดด้วยกัน เช่น สมเด็จดำ สมเด็จแดง สามภพพ่าย ผ้ายันต์สี่เหล่า สมเด็จยอดกัญญานี และกริ่งขี่เต่า เหรียญรุ่นพัดยศ เป็นต้นเป็นสิ่งที่ทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เสาะหากันมานาน นับได้ว่าท่านเจ้าคุณพระราชญาณดิลก ได้สร้าง สมคุณงามความดีมาถึง ๙๑ ปี ท่านได้มรณภาพเมื่อ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านได้สร้างความรุ่งเรืองให้แก่พระศาสนาและประเทศชาติ ยอมสละประโยขน์ สุขส่วนตน เพื่อประโยขน์สุขส่วนรวมอย่างแท้จริง แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว ชาวหมู่บ้านเขาเต่าก็ยังให้ ความเคารพนับถือไปตลอดกาล

ตำแหน่ง

ฝ่ายปกครอง

พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๒๒  เป็น เจ้าอาวาสวัดธรรมิการาม
 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม
 รองเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี
 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ
 เจ้าอาวาสวัดเขาเต่า
 เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ธ)

สมณศักดิ์


๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระภัทรมุขมุนี
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชญาณดิลก สาธกวิปัสสนาธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [1]

ที่มา


1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๘, ตอนที่ ๑๕๑ ง, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔, หน้า ๓
เพจ พระเครื่องหัวหินและเพชรบุรี
ทำเนียบพระราชาคณะชาติภูมิอยุธยา


แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com

www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่

พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook