|
VIEW : 1,238
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลในสมัยก่อน การเล่าเรียนศึกษาหาความรู้ ต้องไปเรียนจากวัดที่มีพระเป็นครูอบรมสั่งสอนเท่านั้น จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ชายเท่านั้น เมื่อเยาว์วัยหลวงพ่อได้ศึกษาเบื้องต้นกับชายตาบอดทั้งสองข้าง ชื่อ “นายมา” ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน เป็นครูช่วยสอนให้จนสามารถอ่านออกเขียนได้พอสมควร จาก “ครูมา” ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนให้จนเติบโตพอเป็นกำลังให้บิดา-มารดาได้ ท่านเองก็ได้ช่วยโยมทั้งสองประกอบอาชีพ ซึ่งในสมัยนั้นทำสวนพูลเป็นส่วนใหญ่
ครั้นอายุ ๑๘ ปี จึงออกจากบ้านไปบรรพชาเป็นสามเณรในพทธศาสนา เมื่อวันพุธ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ณ วัดนวลนรดิศ ตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ ธนบุรี โดยมี พระสาสนานุรักษ์ (ทิม รตนโชโต) เป็นพระอุปชฌาย์
หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดนวลนรดิศเรื่อยมา โดยได้รับเมตตาจากท่านเจ้าคุณพระสาสนานุรักษ์ ให้การอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องกิริยามารยาท หรือในด้านภาษา หนังสือ พระอุปัชฌาย์เป็นผู้สอนภาษาขอมโบราณ ซึ่งสมัยนั้นนิยมกันมากจนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ภาษาเป็นอย่างดี เป็นการเรียนการสอนอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่งบางครั้งมีเพียงลูกศิษย์กับอาจารย์เพียงสอนคน เมื่อเรียนเสร็จแล้ว ท่านผู้สอนก็จะให้การอบรมในด้านความประพฤติ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ให้อีกด้วย เมื่ออายุ ๒๐ ปี บริบูรณ์ก็พร้อมอุปสมบทได้ต่อไปเลย
เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ได้อุปสมบท เมื่อวันอังคารที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ณ พัทธสีมา วัดนวลนรดิศวรวิหาร ซึ่งสมัยนั้นยังเรียกว่า “วัดมะกอกใน” โดยมี พระสาสนานุรักษ์ (ทิม รตนโชโต) เป็นพระอุปชฌาย์ พระปลัดจือ วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์เที้ยม วัดนวลนรดิศ เป็นพระอนุสาสนาจารย์ และได้รับฉายาว่า “ธมฺมานนฺโท”
และจำพรรษาอยู่ที่วัดนวลนรดิศนี้ตลอดมา สมัยนั้นการเล่าเรียนของพระเป็นไปอย่างยากลำบาก สถานที่เรียนและพระที่จะมาสอนก็หายากท่านจำเป็นต้องไปเรียนนักธรรมในสำนักฝั่งพระนคร โดยเรียนที่วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ซึ่งขณะนั้น “พระวิเชียรกวี” (ฉัตร) จำพรรษาอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ มาก่อน เป็นครูผู้สอนนักธรรมอยู่ด้วย ท่านเป็นครูผู้ชำนาญด้านการสอนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ท่านไปเรียนอยู่หลายปี จนบางครั้งต้องเดินไปเอง อุตสาหะ วิริยะ จริงๆ จึงจะเกิดผลสำเร็จตามที่ปรารถณา เมื่อเห็นว่ามีความรู้ความสามารถพอสมควรก็สมัครสอบและสอบได้นักธรรมตรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ จากนั้นโอกาสที่จะไปศึกษาต่อก็มีน้อย เนื่องจากทางไปเล่าเรียนยากลำบากทั้งไปและกลับขึงหยุดการเรียนเรื่องนักธรรม และมาศึกษาต่อด้านภาษาขอมกับอุปัชย์ คือ พระสาสนานุรักษ์จนมีความรู้ความสามารถอ่านเขียนได้คล่องแคล่ว แม่นยำ แม้กระทั่ง ท่องปาฏิโมกข์ ภาษาขอม และภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นการยากมากในสมัยนั้นที่จะศึกษากันให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งอย่างนี้ เมื่อท่านมีอายุพรรษามากขึ้น พระสาสนานุรักษ์พระอุปัชฌาย์ ก็มอบหน้าที่ให้ท่านเป็นครูสอนนักธรรมที่วัดนวลนรดิศแทนพระอุปัชฌาย์ ซึ่งชราภาพมากแล้ว ตลอดมาเป็นเวลาหลายปี
พ.ศ. ๒๔๖๕ | เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศ |
พ.ศ. ๒๔๖๙ | เป็น เจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศ |
พ.ศ. ๒๔๗๑ | เป็น เจ้าคณะตำบลปากคลองภาษีเจริญ |
พ.ศ. ๒๔๙๒ | เป็น สาธารณูปการอำเภอภาษีเจริญ หนองแขม |
พ.ศ. ๒๔๙๓ | เป็น พระอุปัชฌาย์ |
พ.ศ. ๒๕๐๒ | เป็น รักษาการเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ |
พ.ศ. ๒๕๐๓ | เป็น เจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ |
พ.ศ. ๒๕๑๔ | เป็น กรรมการสถาบริหารการคณะสงฆ์ธนบุรี |
พ.ศ. ๒๔๕๖ | เป็น ครูสอนพระปริยัติธรรม |
พ.ศ. ๒๔๖๒ | เป็น ผู้อุปการะโรงเรียนวัดนวลนรดิศ |
พ.ศ. ๒๔๘๗ | เป็น กรรมการตรวจธรรมสนามหลวง |
พ.ศ. ๒๔๙๘ | เป็น ประธานกรรมการดำเนินการการสอบธรรมสนามหลวง |
เป็น
พระครูสัญญาบัตร
ที่ พระครูศีลคุณธราจารย์
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระศีลคุณธราจารย์
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญเทียบเปรียญ
ที่ พระนรดิศคุณาจารย์
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็น
พระราชาคณะชั้นราช
ที่ พระราชสังวรวิมล โสภณสิกขการ ไพศาลศาสนกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[1]
|
1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๐, ตอนที่ ๑๒๒ ง, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖, หน้า ๔ |
www.web-pra.com |
ทำเนียบพระราชาคณะชาติภูมิกรุงเทพมหานคร |
กลุ่ม พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ทั่วสังฆมณฑล |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook