|
VIEW : 3,072
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลต่อมาได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร โดยทำหน้าที่เป็นคะเดท ทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์
พระองค์บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์
แล้วทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับอาจารย์หลายท่าน เช่น หม่อมเจ้าประภากร มาลากุล พระสุทธสีลสังวร (สาย) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร และได้รับพระราชทานพัดเปรียญในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๒
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้อุปสมบท ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร โดยมี พระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร
ในตอนแรกทรงตั้งพระทัยจะสอบถึงเพียงเปรียญธรรม ๕ ประโยคเท่านั้น แต่สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้สอบต่อ และทรงส่งพระองค์เข้าสอบในปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงได้อีก ๒ ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม ๗ ประโยค
พระองค์ได้มีส่วนร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มาตั้งแต่ต้น คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมือง ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา มีการจัดพิมพ์แบบเรียนต่าง ๆ พระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ไปไว้ใช้ฝึกสอน ให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชนในหัวเมืองทั้งปวง มารวมขึ้นอยู่ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เพื่อจะได้เป็นหมวดเดียวกัน พระองค์ขณะที่ดำรงสมณศักดิ์พระสุคุณคุณาภรณ์ ได้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนา และการศึกษาในหัวเมือง
พระองค์ทรงเป็นแม่กองสอบไล่พระปริยัติธรรมหลายครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัด เมื่อพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ชราและอาพาธ ก็ได้ทรงมอบหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตให้ทรงบัญชาการแทน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ และเมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ พระองค์ก็ได้ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตสืบต่อมา และให้ทรงจัดการปกครองคณะธรรมยุตที่สำคัญหลายประการ
เมื่อเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแล้ว ได้ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดการปกครองคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายคือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ดังนี้
๑. การปกครองส่วนกลาง คณะสังฆมนตรีคงบริหารรวมกัน แต่การปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามนิกาย
๒. การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกตามนิกาย
พระองค์ได้เป็นพระราชอุปัชฌยาจารย์เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกผนวชในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ และในงานฉลองพุทธศตวรรษในประเทศไทย รัฐบาลประเทศพม่าได้ถวายสมณศักดิ์สูงสุดของพม่าคือ อภิธชมหารัฏฐคุรุ แด่พระองค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐
พ.ศ. ๒๔๔๕ | เป็น เจ้าคณะมณฑลจันทบุรี |
พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๕๐๑ | เป็น เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร |
พ.ศ. ๒๔๖๗ | เป็น เจ้าคณะมณฑลอยุธยา |
พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๕๐๑ | เป็น เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต |
พ.ศ. ๒๔๗๖ | เป็น ประธานมหาเถรสมาคม บัญชาการคณะสงฆ์แทนพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า |
พ.ศ. ๒๔๘๕ | เป็น ประธานคณะวินัยธร ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ |
พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๕๐๑ | เป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ |
พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๗๘ | เป็น แม่กองบาลีสนามหลวง |
๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๙ เป็น
พระราชาคณะ
ที่ พระสุคุณคณาภรณ์
|
๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็น
เสมอพระราชาคณะชั้นเทพพิเศษ
ที่ พระญาณวราภรณ์ สุนทรศีลวิสุทธินายก ไตรปิฎกเมธา มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี
|
พ.ศ. ๒๔๕๑
ลาออกจากหน้าที่พระราชาคณะเพื่อเตรียมลาสิกขาบท แต่ยังทรงอาลัยในสมณเพศจึงรั้งรออยู่
|
พ.ศ. ๒๔๕๔
รับพระราชทานพัดยศเดิมและกลับเข้ารับราชการตามตำแหน่งเดิม
|
๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็น
เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษ
ที่ พระญาณวราภรณ์ สุนทรธรรมปาโมกข์ ยุตโยคญาณดิลก ไตรปิฎกธารี ธรรมวาทียติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี
|
๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็น
สมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตติกา
ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ปาพจนงคญาณวราภรณ์ สุนทรวิสุทธิพรหมจารี ตรีปิฎกธรรมโกศล วิมลศีลขันธ์สรรพสุจิตต์ มหากิริฏราชประนับดา นพวงศวรานุวรรตน์ อุตกฤษฏรัตตัญญูกาพยปฏิภาณ คุโณธารสังฆประมุข ธรรมยุกติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
|
๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น
สมเด็จพระสังฆราช
ในราชทินนามเดิม
|
พ.ศ. ๒๔๙๓ โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามเป็น
สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วิสุทธิสงฆคุณาลังการ อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาส ภูมิพลมหาราชสรณคมนาจารย์ สุจิตตาภิธานสังฆวิสุต มหามกุฎมหาราชประนัปดา นพวงศราชกุลาภิวรรธน์ สุขุมอรรถธรรมวิจารปรีชา กาพยรจนาฉันทพากยปฏิภาน ปาวจนุตตมญาณวราภรณ์ สุนทรวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภานพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณบัณฑิต สรรพคณิสสรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช
|
๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น
พระองค์เจ้าต่างกรม
พร้อมเฉลิมพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วิสุทธิสงฆคุณาลังการ อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาส ภูมิพลมหาราชหิโตปัธยาจารย์ สุจิตตาภิธานสังฆวิสุต มหามกุฎมหาราชประนัปดา นพวงศราชกุลาภิวรรธน์ สุขุมอรรถธรรมวิจารปรีชา กาพรจนาฉันทพากยปฏิภาน ปาวจนุตตมญาณวราภรณ์ สุนทรวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภานพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณบัณฑิต สรรพคณิสสรมหาปธานาธิบดี ศรีสมณุดมบรมบพิตร คชนาม
|
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook