|
VIEW : 2,476
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลเมื่อวัยเด็กท่านเป็นคนขยันขันแข็ง ร่างกายสมบูรณ์ ได้เป็นกำลังช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบอาชีพ มีจิตใจไปในทางกุศล ไม่ชอบทำเวร ทำกรรม ว่านอนสอนง่าย พอมีอายุได้ ๓ ปี นำขำบิดา ซึ่งเป็นศิษย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) วัดระฆังฯ สมัยแต่ยังเป็นพระมหาโต ได้นำท่านมาฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาพระปริยธรรม แต่ครั้งสมเด็จโต ยังดำรงตำแหน่งเป็นพระธรรมกิติ ทั้งนี้ด้วยเห็นนิสัยบุตรคนนี้ว่า เป็นคนใจบุญ ใจกุศล
สมเด็จโต ดูลักษณะท่านแล้วทำนายว่า เด็กคนนี้มีวาสนาทางพระถึงขั้นพระราชาคณะ ฉันยินดีรับอุปถัมภ์ นายขำบิดาท่านได้ฟังคำทำนายก็รู้สึกตื้นตันใจในวาสนาของบุตร นับได้ว่า สมเด็จโตเป็นพระอาจารย์ของบิดาแล้วยังได้มาเป็นพระอาจารย์ของท่านอีกชั้นหนึ่ง เป็นกำลังใจให้ท่านเล่าเรียนด้วยความขยันหมั่นเพียรแลจิตมุ่งที่จะอุปสมบท การเล่าเรียนของท่าน สมเด็จโตออกปากว่า
"เจ้าช่วง เอ็งมีสติปัญญาสอนง่ายกว่าเจ้าขำพ่อของเอ็ง"
สมเด็จโตมีวิชาสิ่งใด ก็ถ่ายทอดให้ท่านด้วยความเอ็นดูครั้นพอายุครบบวช สมเด็จโตเวลานั้นได้มับสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์เอนกสถานปรีชา เป็นอธิบดีสงฆ์ วัดระฆังฯ แลเป็นเจ้าคณะใหญ่หอกลาง ได้เรียกนายขำบิดาท่านมาถามว่า
"ฉันจะบวชให้เจ้าช่วง เอ็งคิดจะให้บวชที่วัดระฆังนี่หรือจะเอาไปบวชที่วัดมณฑปในคลองบางระบาดบ้านเอ็ง สำหรับเจ้าช่วงคนนี้ มันจะไปบวชวัดไหน ฉันก็จะต้องไปนั่งเป็นพระอุปัชฌายะ"
นี่แสดงให้เห็นว่า ท่านได้รับใช้สมเด็จ จนสมเด็จเมตตาแก่ท่านเพียงไร
ในที่สุดนายขำบิดาท่านก็กราบเรียนว่า ขอให้บวชที่วัดมณฑปเพราะญาติโยมผู้เฒ่าผู้แก่อยู่ใกล้วัดนั้นมาก
สมเด็จโต ได้ฟังก็ตกลงด้วยความยินดี ด้วยท่านจะได้มีโอกาสพบกับชาวบางระบาด ตลิ่งชัน แลโดยเฉพาะท่านสมภารสอน วัดมณฑป ก็เป็นศิษย์ของท่าน เคยไปรุกขมูลธุดงค์กับสมเด็จโต ถึงนครวัด ประเทศเขมร ส่วนทางด้านพม่า ก็ไปถึงพระเจดีย์ชเวดากอง นครร่างกุ้ง จัดว่าเป็นศิษย์รุ่นเก่าที่ใกล้ชิดไว้วางใจ
ดังนั้นจึงกำหนดงานอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดมณฑป คลองบางระบาด ณ วันพุธ เดือน ๗ แรม ๑๐ ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๗ โดยมี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูปลัดสุวัฒน์สมณาจารย์ (มิศร์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสอน วัดมณฑป เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "จนฺทโชติ" แปลว่า ได้ครองผ้าเหลืองมีรัศมีผ่องใสดังแสงจันทร์ สมกับที่ท่านเกิดวันจันทร์ โฉมตรู แล้วมาบวชวันพุธ นงเยาว์ ตามพระบัญชาของสมเด็จโต พระอุปัชาฌายะ
ครั้นอุปสมบทแล้ว ได้ทำอาจาริยะวัตรที่วัดมณฑป ๗ วัน ก็กลับมาอยู่ที่วัดระฆังฯ เรียนปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จโต พระอุปัชฌายะ จนมีความรู้แลปฏิบัติเคร่งครัดต่อธรรมวินัย แต่ไม่ได้เข้าแปลเป็นเปรียญ หรือท่านจะถือแบบสมเด็จโต กล่าวคือให้มาเทียบเปรียญให้เอง ก็ยังสืบไม่ได้ความ
คนรุ่นเก่าเคยเล่าว่า ท่านเก่งทางหนังสือ ทางเทศน์ สวดมนต์แม่นยำพระปาฏิโมกข์ มหาชาติชาดก
เทศนากัณฑ์ ด้วยสุ้มเสียงไพเราะจับใจ มีคนนิยมมานิมนต์มิได้ขาด เรื่องทางเวทย์มนต์ไม่ต้องบอกก็ได้ว่าเก่งขนาดไหน ท่านถ่ายทอดไว้จากสมเด็จโต จนหมดสิ้นไส้พุงทีเดียว แต่ท่านไม่เคยคุยโอ้อวดแต่อย่างใด ความรู้ทางช่างก็ชัดเป็นช่างฝีมือ ทำงานละเอียด ประณีตบรรจง ทางแพทย์แผนโบราณก็เป็นที่พึ่งได้ทั้งชาววัดชาวบ้านเป็นอย่างดี
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม |
พระธรรมถาวร (ช่วง จนฺทโชติ) ได้อาพาธด้วยโรคชรา กระเสาะกระแสะเรื่อย ๆ มา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๖ ครั้งถึงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๗ อาการกำเริบถึงขีดสุด เหลือความสามารถที่แพทย์จะเยียวยาได้ ได้ถึงมรณภาพโดยอาการสงบเมื่อเวลา ๒๑ น. เศษ คำนวณอายุได้ ๙๒ ปี พรรษา ๗๐
พ.ศ. ๒๔๑๑ เป็น
พระครูธรรมรักขิต
ฐานานุกรมของสมเด็จโต
|
พ.ศ. ๒๔๒๗ เป็น
พระปลัด
ฐานานุกรมใน พระญาณวิริยะ (บุตร)
|
พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็น
พระครูปลัด
ฐานานุกรมใน หม่อมเจ้าพระพุทธปบาทปิลันท์ธรรมเจดีย์ (หม่อมเจ้า ทัด เสนีวงศ์)
|
พ.ศ. ๒๔๓๕ เป็น
พระครูปลัดสุวัฒน์ศีลคุณ
ฐานานุกรมใน หม่อมเจ้าพิมลธรรม (ทัด)
|
พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็น
พระครูปลัดสุวัฒนสมณาจารย์
ฐานานุกรมใน สมเด็จพุฒาจารย์ (หม่อมเจ้าทัดฯ)
|
๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๓ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระธรรมถาวร
|
ทำเนียบพระราชาคณะชาติภูมิกรุงเทพมหานคร |
ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญา ครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook