|
VIEW : 1,406
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลเมื่อโตขึ้น ท่านเรียนหนังสือกับมารดา จนกระทั่งมารดาเสียชีวิตขณะท่านอายุได้ ๑๑ ปี บิดาส่งท่านขึ้นเรือให้ไปเรียนที่ประเทศจีน แต่ท่านกระโดดหนีลงจากเรือแล้วไปอยู่กับน้าชายชื่อสิงห์โต
ปีต่อมาบิดามารับท่านไปเรียนภาษาจีนที่ศาลเจ้าข้างวัดราชผาติการาม วรวิหาร พออายุได้ ๑๔ ปี บิดาให้ทำงานเป็นเสมียนกับพระเสนางควิจารณ์ (ยิ้ม) เมื่อายุได้ ๑๕ ปี น้าที่เคยอุปการะท่านได้พาท่านไปเรียนกับพระครูเขมาภิมุข (อิ่ม) ที่วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร ต่อมาย้ายไปศึกษากับพระอริยกระวี (ทิง) สมัยยังเป็นพระครูปลัด ฐานานุกรมในพระพรหมมุนี (ทับ พุทฺธสิริ)
ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ ได้บรรพชาเป็นสามเณร และเข้าสอบพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ ได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ถึงปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ ได้อุปสมบทที่วัดโสมนัสวิหาร โดยมี พระพรหมมุนี (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาต่อแล้วเข้าสอบในปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ ที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ได้อีก ๒ ประโยคเป็นเปรียญธรรม ๕ ประโยค และเข้าสอบครั้งสุดท้ายในปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๒๕ ที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ได้อีก ๓ ประโยคเป็นเปรียญธรรม ๘ ประโยค
เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะเลือกพระมหาเปรียญจากวัดโสมนัสวิหารมาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งขณะนั้นมีพระมหาเดช ฐานจาโร กับพระมหายัง เขมาภิรโต ได้ทูลปรึกษาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) ทราบว่าพระมหายังเชี่ยวชาญเทศนาจึงเป็นที่นิยมของคฤหัสถ์ แต่พระมหาเดชเป็นที่รักใคร่นับถือของเพื่อนบรรพชิตมากกว่า ที่สุดทรงตัดสินพระทัยตั้งพระมหาเดชเป็นพระราชาคณะไปครองวัดเทพศิรินทราวาสตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๗ พระมหายังจึงอยู่วัดโสมนัสวิหารต่อมา จนได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหารตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ ตราบจนมรณภาพ ในสมัยของท่านวัดโสมนัสวิหารเจริญรุ่งเรืองมากเพราะท่านเชี่ยวชาญในการแสดงธรรมและการปฏิสังขรณ์
ท่านเห็นชอบให้พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) สร้างอาคารเรียนขึ้นในวัดเพื่ออุทิศแก่คุณหญิงพึ่ง อาคารนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "สาลักษณาลัย" ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ และมอบให้กระทรวงศึกษาธิการใช้เป็นสถานศึกษาตั้งแต่วันนั้น
พ.ศ. ๒๔๔๓ - ๒๔๗๑ | เป็น เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ |
พ.ศ. ๒๔๔๕ | เป็น เจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร |
เจ้าคณะใหญ่ผู้ช่วยคณะธรรมยุติกนิกาย |
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต) เริ่มอาพาธด้วยโรคอัมพาตมาตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ จนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๔ เวลา ๒๐.๒๐ น. สิริอายุได้ ๗๙ ปี ๓๒๒ วัน ในวันต่อมา เวลา ๑๗.๒๐ น. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จแทนพระองค์ไปสรงน้ำศพ ได้รับพระราชทานโกศไม้สิบสองฉัตรเบญจา ๑ สำรับ และโปรดให้มีพระสวดอภิธรรมเวลากลางคืนมีกำหนด ๑๕ วัน
วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลศพ วันต่อมา เวลา ๑๕.๐๐ น. พนักงานเชิญโกศศพขึ้นรถจตุรมุข ไปสมทบกับขบวนศพพระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส) เข้าประตูสุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส เวียนศพรอบเมรุแล้วยกขึ้นตั้งบนเชิงตะกอน ถึงเวลา ๑๗.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพลิงศพแล้วเสด็จกลับ วันที่ ๖ เมษายน เวลา ๗:๐๐ น. เจ้าภาพเก็บอัฐิ
๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระอมรโมฬี
|
๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ เป็น
เสมอพระราชาคณะชั้นเทพ
ในราชทินนามเดิม
|
๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็น
พระราชาคณะชั้นเทพ
ที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธรา มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี
|
๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็น
พระราชาคณะชั้นธรรม
ที่ พระธรรมโกษาจารย์ สุนทรญาณนายก ตรีปิฎกมุนี มหาธิบดีศร บวรสังฆารามคามวาสี
|
๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๓ เป็น
พระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายเหนือ
มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพิมลธรรม มหันตคุณ วิบุลยปรีชาญาณนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูสิต อุดรทิศคณะฤศร บวรสังฆารามคามวาสี
|
๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็น
สมเด็จพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะใหญ่ผู้ช่วยคณะธรรมยุติกนิกาย
ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต พุทธสิริมธุรธรรมวาที คัมภีรญาณปริยัติโกศล วิมลศีลาจารวัตร์ เขมาภิรัตบริษัทประสาทกร ธรรมยุกติกคณิศรมหาสังฆนายก
|
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook