|
VIEW : 1,175
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลเมื่ออายุเกือบครบอุปสมบท ได้มาฝากตัวเป็นศิษย์พระครูจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) ถึงปีมะแม พ.ศ. ๒๔๐๒ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร โดยมี พระพรหมมุนี (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้นามฉายาว่า กิตฺติสาโร
หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระอริยมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) และสำนักอาจารย์ทอง วัดบวรนิเวศวิหารและวัดโสมนัสวิหาร แล้วเข้าสอบพระปริยัติธรรมซึ่งจัดขึ้น ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ ได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค พ.ศ. ๒๔๑๙ ได้เข้าสอบอีกครั้ง ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ได้เพิ่มอีก ๔ ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม ๗ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๒๕ - ๒๔๔๓ | เป็น เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร |
เมื่อพระจันทรโคจคุณได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมย้ายตามไปอยู่ด้วย เมื่อพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าพระมนุษยนาคมานพ มาประทับที่วัดมกุฏกษัตริยาราม ท่านได้รับมอบหมายให้เป็นพระอาจารย์สอนภาษาบาลีถวาย จนพระองค์เจ้าพระมนุษยนาคมานพสามารถสอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยคในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพอพระทัยอย่างยิ่งจึงถวายรางวัลไตรแพร ๑ สำรับ และย่ามโหมดเทศ ๑ ใบแก่ท่าน และยังโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะในปีนั้นด้วย ต่อมาท่านยังช่วยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส นิพนธ์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาขึ้นหลายเล่ม เช่น อบายมุขกถา เวฬุทธาเนยยกสูตร มงคลคาถาที่ ๓ มิลินทปัญหา เป็นต้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงยกย่องท่านว่า เปนผู้มีความรู้ในทางแปลหนังสือแตกฉาน พระผู้ใหญ่ในวัดยังกล่าวถึงท่านว่าอ่านคัมภีร์ใบลานได้ชำนาญมากถึงขนาด ดูคัมภีร์ใบลานเห็นสัมพันธ์กินกันเป็นแถว
ในด้านการปกครอง ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามสืบแทนพระจันทรโคจรคุณที่มรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ต่อมาวันที่ ๘ มกราคม ร.ศ. ๑๑๔ ได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัยฝ่ายบรรพชิต และในปี ร.ศ. ๑๑๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตชุดแรก
ท่านมีความรู้แตกฉานในภาษาบาลีอย่างยิ่ง ในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับ ร.ศ. ๑๑๒ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจชำระจูฬวรรค เล่ม ๑-๒ กถาวัตถุ และมหาปัฏฐานบางส่วน จนเสร็จทันพระราชประสงค์ และได้รับพระราชทานพระไตรปิฎก ๑ ชุด และนาฬิกาตู้อย่างดี ๑ เรือนเป็นรางวัล
นอกจากนี้ ท่านยังเคร่งครัดในพระวินัยอย่างยิ่ง ถึงขนาดไม่รับเป็นพระกรรมวาจารย์เมื่อฟันหลุด เพราะเกรงจะออกเสียงพยัยชนะวรรคทันตชะไม่ได้ ทำให้เป็นอักขรวิบัติ
พระพรหมมุนี อาพาธเป็นวัณโรค และเป็นโรคเหน็บชามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๗ และมีอาการตกโลหิตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๑๑๙ แม้ต่อมาจะทุเลาลงบ้าง แต่กลับทรุดลงอีกในเดือนสิงหาคม จนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันอังคารที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ร.ศ. ๑๑๙ เวลา ๐๑:๓๐ น. ได้รับพระราชทานโกศโถเป็นเกียรติยศ
พ.ศ. ๒๔๑๑ เป็น
พระสมุห์
ฐานานุกรมใน พระจันทรโคจรคุณ
|
พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็น
พระราชาคณะ
ที่ พระกิตติสารมุนี
|
พ.ศ. ๒๔๓๕ เป็น
พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่
ที่ พระเทพโมฬี ตรีปิฎกธรา มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี
|
๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็น
พระราชาคณะชั้นธรรม
ที่ พระธรรมปาโมกข์ ยุตโยคยตินายก ไตรปิฎกธารี ธรรมวาทีคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี
|
๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็น
พระราชาคณะเจ้าคณะรองในคณะกลาง
มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกธรรมาลงกรณ์ มัชฌิมคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี
|
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook