|
VIEW : 1,386
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลพ.ศ. ๒๓๒๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระราชาคณะที่พระวินัยรักขิต ซึ่งเทียบเท่าพระอุบาลีแต่เดิม ที่ต้องเปลี่ยนเพราะเห็นว่าสมณศักดิ์นี้ไปพ้องกับพระอุบาลี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๓๗ ก็ทรงได้รับพระกรุณาธิคุณเลื่อสมณศักดิ์ให้สูงขึ้นในระดับพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพิมลธรรม พ.ศ. ๒๓๕๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพนรัตน
ในปี พ.ศ. ๒๓๖๐ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สามเณรเจ้าฟ้ามงกุฎ เสด็จไปทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุเป็นเวลา ๑ พรรษา ตลอดเวลาที่ได้ประทับจำพรรษา สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงทำหน้าที่พระอาจารย์ ถวายความรู้เกี่ยวกับพระธรรมวินัย พระไตรปิฎกตลอดจนทศพิธราชธรรม
ในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นพระธุระในการพัฒนาการศึกษา ดูและแก้วิธีการสอน การสอบไล่พระปริยัติธรรมทุกครั้งอย่างใกล้ชิด ได้ทอดพระเนตรเห็นข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอยู่ตลอด โดยมิได้ถือพระองค์ว่าทรงเป็นสังฆราชา จนในที่สุดได้ทรงปรึกษาหารือกับพระราชาคณะที่ เป็นเปรียญเอกอีกนับสิบรูป จนเห็นชอบทั่วหน้าในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการสอน การสอบไล่ปริยัติธรรมใหม่ ได้ทรงกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอน และการสอบเทียบความรู้ใหม่ ให้มี ๙ ประโยค แทนหลักสูตรเก่าที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งมีการแบ่งหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมเพียง ๓ ชั้น คือ บาเรียนตรี บาเรียนโท บาเรียนเอก
พ.ศ. ๒๓๕๙ - ๒๓๖๒ | เป็น สมเด็จพระสังฆราช |
พ.ศ. ๒๓๕๙ - ๒๓๖๒ | เป็น เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร |
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาสมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนาม สมเด็จพระอริยวงษญาณ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จ.ศ. ๑๑๗๘ ตรงกับวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๕๙ นับเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วโปรดให้แห่จากพระอารามเดิม คือวัดราชบูรณ มาสถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ.ศ. ๒๓๖๐ สมเด็จพระสังฆราช (มี) ได้ถวายพระพรให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงกระทำวิสาขบูชา อันเป็นพิธีบูชาสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีผลอานิสงส์มากยิ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพิธีวิสาขบูชา เป็นพิธีสำคัญประจำปีขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ และได้กระทำต่อเนื่องสืบมาจนถึงทุกวันนี้
เฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระอริยวงษญาณ ปริยัติวราสังฆราชาธิบดี ศรีสมณุตมปรินายก ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤกษษรทักษิณา สฤทธิสังฆคามวาสี อรัญวาสี เปนประธานถานาทุกคณะนิกร จัตุพิธบรรพสัช สถิตย์ในพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร พระอารามหลวง
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๐ แรม ๗ ค่ำ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๘๑ ตรงกับวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๒ สิริพระชันษาได้ ๖๙ ปี ๒ เดือน ๑๐ วัน ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็นเวลา ๓ ปี ๓ เดือน ๒๐ วัน
พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็น
พระราชาคณะ
ที่ พระวินัยรักขิต
|
พ.ศ. ๒๓๓๗ เป็น
รองสมเด็จพระราชาคณะ
มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพิมลธรรม
|
พ.ศ. ๒๓๕๖ เป็น
สมเด็จพระราชาคณะ
ที่ สมเด็จพระพนรัตน
|
๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๕๙ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระอริยวงษญาณ ปริยัติวราสังฆราชาธิบดี ศรีสมณุตมปรินายก ติปิฏกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤกษษรทักษิณา สฤทธิสังฆคามวาสี อรัญวาสี เปนประธานถานาทุกคณะนิกร จัตุพิธบรรพสัช
|
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook