|
VIEW : 2,427
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ครอบครัวได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบางเกาะเทพศักดิ์ ตำบลแควน้อย อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี พระอาจารย์จุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย วิปัสนากัมมัฏฐาน รวมถึงพุทธาคมต่างๆ ทั้งจากพระอุปัชฌาย์และฆราวาสผู้ขลังเวทย์หลายท่าน
พ.ศ. ๒๔๓๔ พระอาจารย์จุ้ย ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ พิจารณาเห็นว่า ท่านเป็นผู้มีความสามารถภูมิปัญญาความรอบรู้ พอที่จะดูแลตัวเอง และหมู่คณะได้เป็นอย่างดี และขณะนั้น วัดใหม่ยายอิ่ม ซึ่งเป็นวัดสร้างใหม่ ไร้เจ้าอาวาสปกครองดูแลพัฒนา จึงมอบหมายให้ท่านไปดูแลปกครองในฐานะเจ้าอาวาส
วัดใหม่ยายอิ่ม ตั้งชื่อตามนามผู้บริจาคที่ดินถวายเพื่อสร้างวัด คือ ยายอิ่ม เดิมนั้นมีเนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ ๓ งาน ๙๑ ตารางวา ครั้งที่ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสใหม่ๆนั้น เสนาสนะมีเพียงกุฏิสงฆ์เท่านั้น ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ก้อได้ชื่อใหม่ว่าวัดใหม่ใต้ปากคลองดอน ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๖
เมื่อท่านมาอยู่ ได้ทุ่มเทสติปัญญา กำลังกาย กำลังใจ สร้างและพัฒนาวัดแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ จนเป็นวัดแห่งหนึ่งของสมุทรสงคราม ที่มีความใหญ่โต สวยงาม เป็นหน้าเป็นตาของจังหวัด ไม่แพ้วัดใด
ครั้งหนึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯวัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ ตามหัวเมืองใหญ่ๆได้เสด็จมายังวัดนี้ ได้ประทานนามวัดเสียใหม่ว่า วัดเสด็จ
โดยท่านได้เล่าให้ศษย์ใกล้ชิดฟังว่า ตอนแรกนั้นขบวนเรือพระที่นั่งได้ผ่านวัดเสด็จไปแล้ว เผอิญพระองค์ทอดพระเนตรเห็นท่านและคณะสงฆ์ตั้งโต๊ะหมู่บูชาเจริญชัยมงคลคาถารับเสด็จด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงมีรับสั่งให้ขบวนเรือย้อนกลับมาจอดยังท่าน้ำของวัด เสด็จขึ้นตรวจวัด ทรงทอดพระเนตรอาณาบริเวณวัดและมีพระดำริตรัสชอบว่าจัดวัดได้เรียบร้อยสวยงามดี ตรัสถามถึงชื่อของท่าน และมีรับสั่งให้ไปเฝ้าที่วัดอัมพวันเจติยาราม ในช่วงเย็นๆ
ท่านได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังอีกว่า พอได้รับกระแสรับสั่งให้ไปเฝ้าตอนเย็นๆที่วัดอัมพวันฯนั้น ท่านก้อรู้สึกประหม่า ด้วยเหตุว่า หากไปถึงที่นั่น คงได้พบพระผู้ใหญ่มากมาย แต่ไม่ไปก้อไม่ได้ ด้วยเป็นกระแสรับสั่ง พอตกเย็นท่านได้ครองพาดผ้าสังฆาฏิ ให้ศิษย์พายเรือไปส่งยังวัดอัมพวันฯ เมื่อถึงเข้าก้อเข้าเฝ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงจำได้ ทรงรับสั่งถามว่ามาแล้วหรือ มาอย่างไร จากนั้นทรงหันไปรับสั่งกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มาเฝ้าว่า ท่านใจองค์นี้ท่านเป็นสมภารที่เอาใจใส่วัดดี จัดทำวัดให้สะอาดสมเป็นวัดตัวอย่าง... ไม่ไหวว่าจะไปพักที่วัดบางสะแก ที่นั่นมีแต่ชาวบ้านขี้เมา นั่งกันเต็มหน้าวัด เลยไม่พักแล้ว...เอ้า เอาย่ามมหาสมณุติตมาภิเศกแล้วนัดเอาไว้ก่อน ฉันกลับไปกรุงเทพฯ แล้วฉันจะส่งใบแต่งตั้งมาให้อีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้คุณก้อมีอำนาจหน้าที่ ทำการได้ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป รักษาคุณงามความดีไว้นะ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงประทานพัด และย่ามแล้ว ทรงอบรมถึงเรื่องให้รักษาความดีไว้ จากนั้นก้อทรงประทานอนุญาตให้กลับวัดได้
โอกาสต่อมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงคุ้นเคยกับวัดเสด็จมาก ขนาดเสด็จมาประทับแรมหลายครั้งหลายวาระ และพระบรมวงศานุวงค์ ก้อได้ตามเสด็จด้วยทุกครั้งไป และพระองค์ทรงมีเมตตาต่อหลวงปู่ใจมาก ดังจะเห็นได้จาก พระอุโบสถที่สร้างใหม่นั้น ทรงประทานทุนทรัพย์จ้างช่างหลวงมาดำเนินการออกแบบและก่อสร้างให้ นอกจากนั้นพระบรมวงศานุวงค์ที่เคยตามเสด็จ ยังร่วมบริจาคทรัพย์สมทบในการสร้างอุโบสถของวัดเสด็จด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของพระบรมวงศานุวงค์ที่มีต่อท่าน และหากท่านเดินทางเข้ากรุงเทพฯครั้งใด จะมาพักแรมยังวัดบวรนิเวศวิหารเสมอ
ท่านพระครูวิบูลสมุทรกิจ ซึ่งเคยทำหน้าที่เป็นเลขาของท่าน กล่าวตามคำบอกเล่าของท่านว่า ท่านมีความสนใจศึกษาไสยเวทย์ศาสตร์มาตั้งแต่ก่อนการอุปสมบท ได้เล่าเรียนวิชาเมตตามหานิยมจากคนเฒ่าคนแก่ที่อัมพวา เมื่อเรียนแล้วก้อจะทดลองว่าว่าจะขลังจริง ตามที่เจ้าของวิชาบอกหรือไม่
วิธีทดลองก้อคือ โดยยืนใกล้ๆต้นฟักทอง ยื่นมือออกไปห่างยอดฟักทองราวหนึ่งศอก แล้วทำจิตให้เป็นสมาธิ บริกรรมภาวนาคาถาตามที่ได้เล่าเรียนมา ท่านว่ายอดฟักทองจะค่อยๆโอนมาเกาะมือ แล้วเลื้อยเรื่อยขึ้นมาถึงศอก ท่านจึงเชื่อว่าวิชาที่ได้เล่าเรียนมาขลังจริง
ท่านพระครูวิบูลฯจึงถามว่า การที่ยอดฟักทองเงลี้อยมาถึงข้อศอกนั้น จะนำไปใช้ประโยชน์ทางเมตตามหานิยมได้อย่างไร ท่านตอบว่า ก้อแค่ทดลอง หากจะนำไปใช้ประโยชน์ ต้องเด็ดยอดฟักทองที่เลี้อยมาถึงข้อศอกนั้นไปตากแห้ง แล้วบดเป็นผง บริกรรมคาถาปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง จึงนำไปใช้ได้
นอกจากนั้น ท่านยังเคยเล่าว่า ตอนที่ย้ายมาจากวัดบางเกาะเทพศักดิ์ มาอยู่วัดใหม่ยายอิ่มหรือวัดเสด็จใหม่ๆ ท่านต้องเดินทางไปเมืองกาญจนบุรีทุกปี เพื่อตัดไม้ล่องซุงมาสร้างวัด ขึ้นๆล่องๆอยู่หลายปีจึงสร้างวัดเสด็จได้ และทุกปีท่านมักจะแวะพักที่ วัดหนองบัว เสมอ และนำหมากพลูไปถวายหลวงปู่ยิ้มเป็นประจำ และมีความเคารพนับถือเป็นพิเศษ ด้วยหลวงปู่ยิ้มเป็นพระเถราจารย์ที่มีความเข้มขลังทางพุทธาคมและมีชื่อเสียงมากในยุคนั้น
พ.ศ. ๒๔๓๔ | เป็น เจ้าอาวาสวัดเสด็จ |
พ.ศ. ๒๔๖๙ | เป็น เจ้าคณะอำเภออัมพวา |
พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ อินทฺสุวณฺโณ) มรณภาพเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๕ สิริรวมอายุได้ ๑๐๐ ปี พรรษา ๗๘
พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็น
พระครูสัญญาบัตร
ที่ พระครูสุทธิสาร
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระสุทธิสารวุฒาจารย์
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็น
พระราชาคณะชั้นราช
ที่ พระราชมงคลวุฒาจารย์ สมุทรเขตคารวสถาน บริหารธรรมขันธ์โสภิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[1]
|
1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๘, ตอนที่ ๑๐๔ ง, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔, หน้า ๕ |
ทำเนียบอดีตพระราชาคณะภาคตะวันตก |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook