|
VIEW : 1,920
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ ณ วัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา แล้วมาอยู่วัดคงคาวดี จังหวัดพัทลุง พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้ลาสิกขาจากสามเณร
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ณ วัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยมี พระครูวิสุทธิโมลี (จันทร์ จนฺทสิริ) วัดมัชฌิมาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยธรเทพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ครั้นได้รับการอุปสมบทแล้วย้ายกลับมาอยู่วัดคงคาสวัสดิ์ ในปีนั้น พระศิริธรรมมุนี (ม่วง รตนทฺธโช) เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชได้มาตรวจการคณะสงฆ์ ได้คัดเลือกพระภิกษุ ๗ รูป ให้ศึกษาที่มหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อจะได้กลับมาสอนเผยแพร่ภาษาไทยที่ภูมิลำเนาของตน พระเซ่งเป็นรูปหนึ่งที่ได้รับคัดเลือกไปด้วยในช่วงแรกได้จำพรรษาที่วัดมกุฏกษัตริยาราม ต่อมาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส โปรดให้ย้ายมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๔๔๖ สอบได้ เปรียญธรรม ๓ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๔๗ สอบได้ เปรียญธรรม ๔ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๔๘ สอบได้ เปรียญธรรม ๕ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๕๑ | เป็น เจ้าคณะมณฑลภูเก็ต |
พ.ศ. ๒๔๕๔ | เป็น เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร |
พ.ศ. ๒๔๖๗ | เป็น เจ้าคณะมณฑลสุราษฏร์ |
พ.ศ. ๒๔๖๙ | เป็น เจ้าคณะมณฑลภูเก็ต (สมัยที่ ๒) |
พ.ศ. ๒๔๗๑ | เป็น เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช |
นอกจากการศึกษาพระปริยัติธรรมแล้ว พระธรรมวโรดมยังได้รับการศึกษาอบรมงานต่าง ๆ ทั้งที่เป็นธุระส่วนพระองค์และกิจพระศาสนา ตามที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงมอบหมาย ท่านเรียนรู้งานเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี เข้าใจการงานทุกอย่าง จนบริหารการวัดให้เรียบร้อยก้าวหน้าเป็นที่พอพระทัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
พระธรรมวโรดม มีความเชี่ยวชาญด้านปริยัติธรรมอย่างมาก สามารถค้นคว้าคัมภีร์แล้วเรียบเรียงมาเทศนาได้อย่างลึกซึ้ง จับใจผู้ฟัง จนแม้แต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ายังทรงเลื่อมใสและนับถือยกย่องให้เป็นพระธรรมกถึก และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแต่งตั้งท่านเป็นพระคณาจารย์โทในทางแสดงธรรม มีตำแหน่งเทียบเท่าเจ้าคณะเมือง มีประกาศเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ แล้วเลื่อนเป็นพระคณาจารย์เอก (เทียบเท่าเจ้าคณะมณฑล) มีประกาศเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ตรวจชำระพระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาบาลี และเป็นกรรมการในการสอบนักธรรมสนามหลวงด้วย
พระธรรมวโรดม ให้ความสำคัญกับการก่อสร้างและซ่อมแซมถาวรวัตถุอย่างมาก ภายในวัดราชาธิวาสวิหาร ท่านได้บูรณะพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และตำหนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในต่างจังหวัด ท่านได้ร่วมก่อสร้างวัดหลายแห่งในภาคใต้ เช่น วัดสามแก้วและวัดเสกขาราม จังหวัดชุมพร วัดเขาทอง จังหวัดพัทลุง วัดโภคาจุฑามาตย์ จังหวัดกระบี่ วัดนิกรชนาราม จังหวัดปัตตานี เป็นต้น
พระธรรมวโรดม อาพาธด้วยโรคมะเร็งที่ลำคอ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงรับเป็นผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์โดยตลอดทั้ง ๘ เดือนที่เข้ารับการรักษา แม้จะเกิดทุกขเวทนาอย่างรุนแรง แต่ท่านก็ทรงสติดีโดยตลอด ไม่มีความกระวนกระวาย อาการอาพาธของท่านทรงและทรุดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพอย่างสงบเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ เวลา ๑๘.๑๕ น. สิริรวมอายุได้ ๖๓ ปี พรรษา ๔๑
พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็น
พระครูใบฎีกา
ฐานานุกรมใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
|
พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็น
พระครูฐานานุกรม
ที่ พระครูพุทธมนต์ปรีชา
ฐานานุกรมใน พระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
|
๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระอริยกระวี
|
พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็น
พระราชาคณะชั้นราช
ที่ พระราชสุธี ธรรมปรีชาภิมณฑ์ ปริยัติโกศล ยติคณิศร บวรสังฆารามคามวาสี
|
๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็น
พระราชาคณะชั้นเทพ
ที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธาดา มหากถิกสุนทร ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี
|
๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็น
พระราชาคณะชั้นธรรม
ที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก ตรีปิฎกธรรมภูษิต ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี
|
๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็น
พระราชาคณะทักษิณคณิศวรานุนายก (เจ้าคณะรองคณะใต้)
มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระธรรมวโรดม บรมญาณอดุล สุนทรนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูษิต ทักษิณทิศคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
|
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook