|
VIEW : 2,362
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ก่อนที่จะถึงกำหนดวันเดินทางไปศึกษาต่อยังโรงเรียนในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี เด็กชายเกี่ยวเกิดมีอาการป่วยไข้ขึ้นมาอย่างกะทันหัน บิดามารดาจึงบนบานว่า หากเด็กชายเกี่ยวหายจากป่วยไข้ ก็จะให้บวชเป็นเณร
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลบ่อผุด โดยมี เจ้าอธิการพัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์
ความตั้งใจเดิมของสามเณรเกี่ยว คือ การบวชแก้บนสัก ๗ วัน แล้วก็จะลาสึกไปรับการศึกษาในฝ่ายโลก แต่เมื่อบวชแล้วได้เปลี่ยนใจ ไม่คิดจะสึกตามที่เคยตั้งใจไว้ โยมบิดามารดาจึงได้พาสามเณรเกี่ยวไปฝากกับพระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) เจ้าอาวาสวัดแจ้ง ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย
ในเวลาต่อมา หลวงพ่อพริ้งได้นำไปฝากไว้กับอาจารย์เกตุ คณะ ๕ ณ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร แต่หลังจากนั้นเป็นเวลาไม่นาน กรุงเทพมหานครต้องประสบภัยจากสงครามโลกครั้งที่สอง กรุงเทพมหานครถูกเครื่องบินทิ้งระเบิด หลวงพ่อพริ้งจึงได้รับตัวพาไปฝากท่านอาจารย์มหากลั่น ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา เมื่อสงครามสงบ หลวงพ่อพริ้งได้พากลับไปที่วัดสระเกศอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามในเวลานั้น ท่านอาจารย์เกตุ ได้ลาสิกขาบทไปแล้ว หลวงพ่อพริ้งจึงพาฝากไว้กับพระครูปลัดเทียบ (ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนา เป็นพระธรรมเจดีย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ)
ท่านได้ศึกษาธรรมะจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และศึกษาปริยัติธรรม สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค ตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร
อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ณ วัดสระเกศ โดยมี พระธรรมวโรดม (อยู่ ญาโณทโย) เป็นพระอุปัชฌาย์
นักธรรมชั้นเอก |
พ.ศ. ๒๔๘๓ สำเร็จการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ |
พ.ศ. ๒๔๙๗ สอบได้ เปรียญธรรม ๙ ประโยค |
พ.ศ. ๒๕๐๖ | เป็น อนุกรรมการมหาเถรสมาคม |
พ.ศ. ๒๕๐๗ | เป็น รองเจ้าคณะภาค ๙ |
พ.ศ. ๒๕๐๘ | เป็น เจ้าคณะภาค ๙ |
พ.ศ. ๒๕๐๘ | เป็น เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช |
พ.ศ. ๒๕๑๓ | เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร |
พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๕๖ | เป็น เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร |
พ.ศ. ๒๕๑๖ | เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม |
พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๓๗ | เป็น เจ้าคณะภาค ๑๐ |
พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๕๖ | เป็น เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก |
พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๕๖ | เป็น ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช |
ประธานสมัชชามหาคณิสสร | |
ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม |
พ.ศ. ๒๔๙๔ | เป็น ครูสอนปริยัติธรรม |
พ.ศ. ๒๔๙๖ | เป็น กรรมการตรวจบาลีสนามหลวง |
พ.ศ. ๒๔๙๗ | เป็น กรรมการพิเศษแผนกตรวจสำนวนแปลพระวินัยปิฏก ฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๐ ของคณะสงฆ์ |
พ.ศ. ๒๕๐๐ | เป็น อาจารย์สอนภาษาบาลีที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๕๐๑ | เป็น หัวหน้าแผนกบาลีธรรม และเป็นอาจารย์สอนพระสูตร และประธานหัวหน้าแผนกคณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๕๐๒ | เป็น ผู้ช่วยอธิการบดี และหัวหน้าแผนกธรรมวิจัย ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๕๐๗ | เป็น เลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๕๑๓ | เป็น กรรมการร่างหลักสูตรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา |
พ.ศ. ๒๕๒๘ | เป็น ประธานกรรมาธิการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก ในมหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
พ.ศ. ๒๕๓๔ | เป็น ประธานกรรมการจัดการชำระและพิมพ์อรรถกถาพระไตรปิฎก เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ |
พ.ศ. ๒๕๔๐ | เป็น ประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของมหาเถรสมาคม |
พ.ศ. ๒๕๔๐ | เป็น ประธานคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติและอุบัติภัย |
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เริ่มต้นงานด้านวิชาการและการบริหารคณะสงฆ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้ไปร่วมประชุมฉัฏฐสังคีติ ณ ประเทศพม่า ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปดูการศาสนาและเพื่อศาสนสัมพันธ์ที่เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปสังเกตการณ์ การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลาว ศรีลังกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูต
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ไปสังเกตการณ์การศึกษาทางพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับตำแหน่งรองประธานสภาสงฆ์แห่งโลก
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระเมธีสุทธิพงศ์
[1]
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็น
พระราชาคณะชั้นราช
ที่ พระราชวิสุทธิเมธี ตรีปิฎกโกศล โสภณธรรมวาที ศึกษาธิบดีธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[2]
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็น
พระราชาคณะชั้นเทพ
ที่ พระเทพคุณาภรณ์ สุนทรธรรมวาที ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[3]
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็น
พระราชาคณะชั้นธรรม
ที่ พระธรรมคุณาภรณ์ สุนทรคัมภีรญาณ ตรีปิฏกาธารวิมล โสภณปริยัติกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[4]
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็น
พระราชาคณะเจ้าคณะรอง
มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัตติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็น
สมเด็จพระราชาคณะ
ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ภาวนากิจวิธานปรีชา ญาโณทยวรางกูร วิบูลวิสุทธิจริยา อรัญญิกมหาปริณายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี
|
1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๕, ตอนที่ ๑๐๙ ง, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๑, หน้า ๓๑๔๒ |
2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๐, ตอนที่ ๓ ง, ๔ มกราคม ๒๕๖, หน้า ๗ |
3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๑, ตอนที่ ๑๑๘ ง, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๗, หน้า ๑ |
4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๘, ตอนที่ ๑๕๑ ง, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔, หน้า ๒ |
ทำเนียบอดีตพระราชาคณะภาคใต้ |
wikipedia.org |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook