|
VIEW : 1,027
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลเมื่อเยาว์วัยการศึกษาของท่าน เหมือนกับบุคคลทั่วไปคือ เรียนหนังสือที่วัดพออ่านออกเขียนได้ ครั้นจบชั้นประถม ก็ออกจากวัดมาช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ อายุ ๒๑ ปี ได้ไปเป็นศิษย์วัด ที่จังหวัดตาก นานถึง ๒ ปี
อุปสมบท เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ (อายุ ๒๓ ปี) ณ อุโบสถวัดหงษ์ทอง โดยมี พระครูติธรรมสมาทาน (เลื่อน) วัดอุดมศรัทธาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
ภายหลังอุปสมบท ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดสิงคาราม แต่ก็ยังไปมาระหว่างวัดหงษ์ทองกับวัดสิงคาราม
เมื่อบวชได้ ๓ พรรษา ได้กราบลาพระอุปัชฌาย์เพื่อไปศึกษาวิชาต่อ ณ วัดบ้านแก่ง เป็นศิษย์ท่าน พระครูนิวุตถ์พรหมจรรย์ (ทองอยู่) อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
หลวงพ่อทองอยู่ วัดบ้านแก่ง มีกิตติคุณและชื่อเสียงว่า ท่านเป็นพระที่มีคาถาอาคมขลัง ด้านพระปริยัติธรรมท่านก็มีความรู้ดี ในแต่ละปีจะมีพระภิกษุสงฆ์จากเมืองนครสวรรค์กำแพงเพชร ไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอให้ท่านถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ ศิษย์ของหลวงพ่อทองอยู่บางท่านกล่าวว่า “หลวงพ่อทองอยู่ วัดบ้านแก่ง” เป็นศิษย์ท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) วัดหนองโพธิ์ แต่บางท่านกล่าวว่า หลวงพ่อทองอยู่ เป็นสหายทางธรรมกับหลวงพ่อเดิม
พระภิกษุ จุล อิสฺสรญาโณ ได้มาศึกษาในสำนักพระอาจารย์ทองอยู่หลายพรรษา ฉะนั้นวิาความรู้ต่างๆ จึงได้ไปครบทุกอย่างคือด้านคันถธุระและวิปสสนาธุระก็แตกฉานในด้านไสยศาสตร์มนต์คาถาก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาไปด้วย
กาลต่อมา เมื่อวัดหงษ์ทองว่างสมภารและจะหาพระภิกษุสงฆืที่เหมาะสมเพื่อเป็นเจ้าอาวาสก็ไม่มี มรรคทายกพร้อมด้วยชาวบ้านสลกบาตร ได้ประชุมปรึกษาหารือเพื่อจะสรรหาเจ้าอาวาสที่มีวคามสามารถมากจะได้พัฒนาวัดให้เจริญก้าวหน้าในที่สุดเห็นพ้องต้องกันว่า พระภิกษุจุล อิสฺสรยาโณ เป็นพระภิกษุสงฆ์ในท้องถิ่นและเคยอยู่วัดหงษ์ทองมาก่อน และมีความเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้นชาวบ้านสลกบาตรจึงพร้อมใจกันเดินทางไปนิมนต์พระภิกษุจุล อิสฺสรญาโณ จึงเดินทางมาจำพรรษา และรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทองสืบต่อมา
พ.ศ. ๒๔๗๐ | เป็น เจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง |
พ.ศ. ๒๔๗๑ | เป็น เจ้าคณะตำบลสลกบาตร |
พ.ศ. ๒๔๗๘ | เป็น พระอุปัชฌาย์ |
พ.ศ. ๒๔๘๗ | เป็น สาธารณูปการจังหวัด |
เจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษณบุรี |
พ.ศ. ๒๔๘๗ | เป็น กรรมการตรวจสอบนักธรรม |
พระวชิรสารโสภณ (จุล อิสฺสรญาโณ) เป็นพระที่พัฒนาและสร้างสรรค์ความเจริญให้กับวัดหงษ์ทองเป็นอย่างมาก เมื่อท่านมีอายุมาก สังขารร่วงโรย หลวงพ่อได้ป่วยเป็นเบาหวานและโรคปอด ญาติและศิษย์ได้ช่วยกันนำท่านไปทำการรักษา ที่โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ อาการป่วยของท่านไม่บรรเทา ในที่สุดก็ได้ถึงกาลมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ สิริรวมอายุได้ ๗๔ ปี พรรษา ๕๑
พ.ศ. ๒๔๗๘ เป็น
พระใบฎีกา
ฐานานุกรมใน พระวิบูลวชิรธรรม
|
พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็น
พระสมุห์
ฐานานุกรมใน พระวิบูลวชิรธรรม
|
พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็น
พระครูสัญญาบัตร
ที่ พระครูวิกรมวชิรสาร
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระวชิรสารโสภณ
[1]
|
1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๖, ตอนที่ ๑๑๕ ง, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒, หน้า ๑๐ |
ทำเนียบอดีตพระราชาคณะภาคเหนือ |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook