|
VIEW : 3,174
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลในวัยเยาว์ท่านต้องช่วยบิดามารดาทำนาและเลี้ยงน้อง แต่ท่านมีความสนใจในการปฏิบัติธรรม คือชอบสวดมนต์ก่อนนอนตามบิดาของท่านทุก ๆ คืน ทำให้สวดมนต์ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย พ.ศ.๒๔๕๓ บิดาจึงนำท่านมาฝากพระสุนทรมุนี (ใจ) เจ้าอาวาสวัดมณีธุดงค์สงฆ์มูลิกาวาส (พ.ศ.๒๔๕๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สกลมหาสังฆปรินายก ได้ประทานนามใหม่ว่า “วัดทุ่งแก้ว” ) และเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดมณีธุดงค์เชลยศักดิ์ ได้เรียนวิชา ภาษาไทย ภาษาขอม เลขะ วิชาลงรักปิดทอง
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ ณ วัดทุ่งแก้ว จังหวัดอุทัยธานี
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ณ วัดทุ่งแก้ว โดยมี พระสุนทรมุนี (ใจ คงฺคสโร) เป็นพระอุปัชฌาจารย์ พระมหายอด อกฺกวํโส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “สุทตฺโต”
ในระหว่างศึกษาอยู่ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์นี้ ท่านได้รับความเมตตาจาก สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) อบรมสั่งสอนธรรม จนมีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง แตกฉาน และมีโอกาสปรนนิบัติรับใช้ สมเด็จพระวันรัต (เฮง) อย่างใกล้ชิด เนื่องจากความที่เป็นคนอุทัยธานีเหมือนกัน ประกอบกับท่านเป็นผู้มีความวิริยะอุตสาหะและปฏิบัติกิจทางศาสนาได้อย่างเข้ม แข็ง มีศีลาจารวัตรงดงาม จึงเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระวันรัต (เฮง) เป็นอย่างยิ่ง นับว่าท่านเป็นศิษย์ที่ สมเด็จพระวันรัต (เอง) ให้ความเมตตาและไว้ว่างใจมากที่สุด
นอกจากการศึกษาด้านปริยัติธรรมแล้ว พระราชอุทัยกวี (พุฒ) ยังมีความสนใจด้านวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอย่างมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ จึงได้ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับ พระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ ชาวพม่าที่เดินทางมาเผยแผ่ธรรมะด้านวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย และได้นำความรู้มาอบรมสั่งสอนให้แก่ลูกศิษญ์ชาวอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก โดยเริ่มทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๗ เป็นต้นมา และได้จัดตั้งวิปัสสนามูลนิธิวัดมณีสถิตกปิฏฐารามขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำเพ็ญทานและการกุศลในพุทธศาสนา ได้แก่การบำรุงสำนักวิปัสสนา และสำนักเรียนปริยัติธรรมวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม และส่งเสริมกิจการการกุศลสาธารณประโยชน์ทั่วไป
พ.ศ. ๒๔๕๙ สอบได้ นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดทุ่งแก้ว |
พ.ศ. ๒๔๖๒ สอบได้ นักธรรมชั้นโท |
พ.ศ. ๒๔๖๓ สอบได้ เปรียญธรรม ๓ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๖๔ สอบได้ เปรียญธรรม ๔ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๖๕ สอบได้ เปรียญธรรม ๕ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๖๙ | เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดทุ่งแก้ว |
พ.ศ. ๒๔๗๑ | เป็น เจ้าอาวาสวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม |
พ.ศ. ๒๔๗๖ | เป็น รองเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี |
พ.ศ. ๒๔๗๖ | เป็น พระอุปัชฌาย์ |
พ.ศ. ๒๔๗๗ | เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี |
พ.ศ. ๒๔๗๘ | เป็น เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี |
พระราชอุทัยกวี (พุฒ สุทตฺโต ป.ธ.๕) สภาพสังขารโดยทั่วไปมีสุขภาพอนามัยดี ปราศจากโรคภัยไขเจ็บประจำตัว โดยปกติท่านจะใช้เวลาปฏิบ้ติวิปัสสนากรรมฐานในกุฏิเสมอ บางครั้งจะปฏิบัติติดต่อกันเป็นเวลานาน ๑-๒ วัน โดยไม่ออกมาฉันภัตตาหารเลย ท่านเป็นแม่แบบและเป็นที่เคารพ เป็นความภาคภูมิใจของชาวอุทัยธานีมาโดยตลอดทั้งทางด้านปกครองและทางด้านเป็นพระวิปัสสนา ผิวกายของท่านมีราศียิ่งนักมีผิวกายสีชมพู ดูแล้วงามตาและประทับใจเป็นอย่างยิ่ง และในวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เมื่อฉันภัตตาหารเช้าแล้ว ท่านก็ได้เข้ากุฏิปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเหมือนเช่นเคย จนกระทั่งเวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น.เศษ มีผู้เข้าไปพบท่านได้มรณภาพอย่างสงบภายในกุฏิสนทรประมุข
สังขารของท่านได้พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุลอยบริเวณหน้าโรงเรียนพระปริยัติธรรม “อุทัยธรรมสภา” เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ยังความเศร้าโศกเสียใจ อาลัยยิ่งแก่เหล่าศิษยานุศิษย์และชาวอุทัยธานีทั้งปวง
พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็น
พระครูสัญญาบัตร
ที่ พระครูศรีรัตนาภิรม
|
๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระสุนทรมุนี อุทัยธานีวรนายก สังฆปาโมกข์
|
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็น
พระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ที่ พระราชอุทัยกวี สมาธินทรียสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
[1]
|
1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๔, ตอนที่ ๑๐๗ ง, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐, หน้า ๒๙๕๒ |
ทำเนียบอดีตพระราชาคณะภาคเหนือ |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook